วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อะกีดะฮชีอะฮ จาการแบ่งของอุลามา

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์

ปัจจุบันหนังสืออะกีดะฮ์ชีอะฮ์มักแบ่งหัวข้อการศึกษาหลักศรัทธาออกเป็น 5 ข้อใหญ่ๆคือ
1. เตาฮีด
2. อะดิล
3. นุบูวะฮ์
4. อิมามะฮ์
5. มะอ๊าดหรือกิยามะฮ์




ปัญหาคือหนังสืออะกีดะฮ์เหล่านั้นไม่ได้บอกว่า อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้มีที่มา ที่ไปอย่างไร ใครกำหนด ดังนั้นฝ่ายซุนนี่จึงหยิบยกเอาเรื่องนี้มาโจมตี โดยถามว่า



ใครกำหนดอะกีดะฮ์ ห้าข้อนี้ ?


ตอบ เชคมุฟีด

เชคมุฟีด ชื่อจริงคือ มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน ชาวเมืองแบกแดด ประเทศอิรัค เกิดวันที่ 11 ซุลกิอ์ดะฮ์ ฮ.ศ.336 มรณะคืนวันศุกร์ที่ 3 รอมฎอน ฮ.ศ. 413 รวมอายุ 95 ปี สัยยิดมุรตะฏอเป็นอิม่ามนำ นมาซญะนาซะฮ์ให้ มีทั้งซุนนี่และชีอะฮ์มาร่วมนมาซญะนาซะฮ์ให้เขาอย่างเนืองแน่น เดิมร่างถูกฝังไว้ที่บ้านสองปี ต่อมาได้ย้ายไปฝังไว้ที่เมืองกาซิมัยน์ เคียงข้างกับอาจารย์ของเขาคือเชคศอดูก ตรงบิรเวณด้านล่างสุสานของท่านอิม่ามญะวาด อะลัยฮิสสลาม
เชคมุฟีดนับได้ว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้สูงสุดในยุคที่เขามีชีวิตอยู่ มีความฉลาดหลักแหลมในการตอบคำถามและเชี่ยวชาญวิชาฟิกฮ์ ,ริวายะฮ์และอิลมุลกะลาม เขาแต่งตำราไว้สองร้อยกว่าเล่ม ซึ่งคนรุ่นหลังล้วนได้รับประโยชน์จากเขาอย่างมากมาย

เชคมุฟีด คือบุคคลแรกที่ได้ประมวลอะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากกุรอ่านและฮะดีษไว้หนังสือชื่อ “ อัน-นุกัต อัลเอี๊ยะอ์ติกอดียะฮ์ “ หนังสือเล่มนี้เชคมุฟีดได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็น 5 บทคือ
1. มะอ์ริฟะตุลเลาะฮ์วะศิฟาติฮี (การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์)
2. อัลอัดลุ (ความยุติธรรมของอัลลอฮ์)
3. อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์)
4. อัลอิมามะฮ์ ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนบีมุฮัมมัด)
5. อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)


ยุคต่อมานักวิชาการชีอะฮ์ได้เรียบเรียงหนังสืออะกีดะฮ์โดยแบ่งเรื่องหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อเหมือนที่เชคมุฟีดได้นำเสนอไว้จนกลายเป็นเรื่องมุตะวาติรถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัลลอฮุอะอ์ลัม.




ถาม

อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้มีกุรอ่านหรือหะดีษกล่าวไว้หรือไม่

ตอบ

อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้ได้เอามาจากอัลกุรอานและฮะดีษ เพียงแต่ไม่ได้กล่าวเรียงกันเท่านั้น

หากกล่าวว่า :

เมื่ออะฮ์ลุลบัยต์ไม่ได้กำหนดแสดงว่าอะกีดะฮ์ทั้งห้านี้เป็นเรื่องบิดอะฮ์

ขอถามซุนนี่วาฮาบีว่า

เชคมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ผู้ก่อตั้งแนวทางวาฮาบี (1115-1206 ฮ.ศ.) ได้แบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทคือ 1,เตาฮีดอุลูฮียะฮ์ 2, เตาฮีดรุบูบียะฮ์ 3, เตาฮีดอัสมาอ์วะซิฟาต
ซึ่งการแบ่งนี้ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮะดีษนบี และบรรดาซอฮาบะฮ์ ตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้กล่าวไว้เลยเป็นที่ทราบดีว่า การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ข้อเช่นนี้ไม่เคยมีในยุคศตวรรษที่ 3 จนถึงศตวรรษที่ 6 เมื่อถึงศตวรรษที่ 7 การแบ่งเตาฮีดเป็นอุลูฮียะฮฺและรุบูบียะฮฺพึ่งเกิดขึ้น

ถามว่า : การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทนี้ เป็นบิดอะฮ์ใช่ไหม ?


ซุนนี่มัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ได้แบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 เรียกว่า ซิฟัตวายิบ 20 ข้อ คือ
1.อัลวุญูด =อัลเลาะฮ์ทรงมี 2.อัลกิดัม=อัลเลาะฮ์ทรงดั้งเดิม 3.อัลบะกอ=อัลเลาะฮ์ทรงคงอยู่ถาวร 4.อัลมุคอละฟะตุลิลฮะวาดิษ=อัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่ 5.อัลกิยามุบินนัฟส์=อัลเลาะฮ์ทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง 6.อัลวะห์ดานียะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงเอกะหนึ่งเดียว 7.อัลกุดเราะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงสามารถ 8.อัลอิรอดะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงเจตนา 9.อัลอิลมุ=อัลเลาะฮ์ทรงรู้ 10.อัลหะยาอ์ =อัลเลาะฮ์ทรงเป็น 11.อัซซัมอุ=อัลเลาะฮ์ทรงได้ยิน 12.อัลบะศ็อร=อัลเลาะฮ์ทรงเห็น13.อัลกะลาม=อัลเลาะฮ์ทรงพูด 14.เกานุฮูกอดิร็อน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงอาณุภาพ 15.เกานุฮูมุรีดัน =อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเจตนา 16.เกานุฮูอาลิมัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงรอบรู้ 17.เกานุฮูฮัยญัน =อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเป็น 18.เกานุฮูซะมีอัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงได้ยิน 19.เกานุฮูบะซีร็อน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเห็น 20.เกานุฮูมุตะกัลลิมัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงพูด

การแบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 ซิฟัตนี้ก็ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮะดีษนบีและบรรดาซอฮาบะฮ์เช่นกัน

ถามว่า : การแบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 ข้อนี้ เป็นบิดอะฮ์ใช่ไหม ?


แน่นอนพวกเขาจะตอบว่า แม้อัลเลาะฮ์และรอซูลไม่ได้กำหนดไว้เช่นนี้ แต่อุละมาอ์ได้เอามาจากกุรอ่านและฮะดีษ

นั่นแสดงว่าพวกเขาตอบเหมือนที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ตอบที่ว่า อะกีดะฮ์ทั้งห้านั้นได้ประมวลมาจากกุรอ่านและฮะดีษเช่นกัน



อุละมาอ์ซุนนี่ที่มีความตะอัซซุบบางส่วน ไม่ได้ยุติการโจมตีเรื่องอะกีดะฮ์ชีอะฮ์เท่านั้น แต่ยังก้าวไปถึงขั้นฮุก่มตัดสินว่า ชีอะฮ์เป็น กาเฟร ด้วยสาเหตุที่ มีอะกีดะฮ์ไม่ตรงกับซุนนี่


หากท่านถามพวกเขาว่า แล้วซุนนี่มีอะกีดะฮ์กี่ข้อ

พวกเขาจะตอบว่า มี หก ข้อ เท่านั้น ด้วยหะดีษบทนี้

ท่านอุมัรรายงาน :

(ท่านญิบรออีลได้กล่าวกับท่านนบีมุหัมมัดว่า) : จงบอกฉันถึงอีหม่าน

ท่านนบีตอบว่า : คือท่านจะต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์

2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์

3,ต่อบรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์

5,ต่อวันอาคิเราะฮ์

6,และต้องศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์(ที่ทรงกำหนดไว้)

อ้างอิงจากหนังสือ เศาะหี๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 9


แต่ทั้งชีอะฮ์และซุนนี่ ระดับสามัญชน ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่า ความจริง ตำราหะดีษซุนนี่ มิได้รายงานว่า อะกีดะฮ์หรืออีหม่านนั้นมีแค่หกข้อ ความจริงยังมีรายงานหะดีษ ที่ระบุแตกต่างไปจากนี้ อีกมากมาย ซึ่ง อุละมาอ์ซุนนี่ ไม่เคยนำเรื่องนี้มาพูด


ตอนต่อไปเราจะมา ศึกษาหะดีษ อีหม่านซุนนี่ ที่รายงานแตกต่างไปจาก หะดีษข้างต้น อินชาอัลเลาะฮ์    


(ท่านญิบรออีลได้กล่าวกับท่านนบีมุหัมมัดว่า) : จงบอกฉันถึงอีหม่าน
ท่านนบีตอบว่า : คือท่านจะต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์

2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์

3,ต่อบรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์

5,ต่อวันอาคิเราะฮ์

6,และต้องศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์(ที่ทรงกำหนดไว้)

อ้างอิงจาก เศาะหี๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 9[/color]


จากหะดีษบทนี้ พวกวาฮาบีจึงนำมาใช้ฮุก่มแบบชุ่ยๆว่า ชีอะฮ์ เป็น กาเฟร

โดยให้เหตุผลว่า เพราะพวกเขามีอีหม่าน 6 แต่ชีอะฮ์มีอีหม่าน 5



ท่านคงเคยได้ยินพวกโต๊ะครูวาฮาบี บางส่วนในบ้านเราเช่น เชค ริดอ สะมะดี อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ อาจารย์มุรีด ทิมะเสน ที่ออกมาตะโกนปาวๆว่า ชีอะฮ์เป็นกาเฟรเพราะพวกเขามีอีหม่านแค่ห้าข้อ


คำถามคือ


จริงหรือที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า อีหม่านนั้นมีแค่หกข้อ เราจะมาแสวงหาความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ข้ออ้างอันนี้ด้วยกัน


หลังจากที่เราได้เข้าไปตรวจสอบหะดีษที่รายงานเรื่องอีหม่านในตำราหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ปรากฏว่า
เราพบหะดีษอีกมากมายที่ได้รายงานแตกต่างกันไป กล่าวคือ มีรายงานจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์ที่ระบุว่า อีหม่านนั้น มีตั้งแต่ 1 ข้อ จนถึง 12 ข้อ



ไม่ใช่มีเฉพาะแค่ 6 ข้อ ตามที่โต๊ะครูวาฮาบีกำลังหลอกลวงประชาชนอยู่ตามเวทีปราศัยทั่วไป
และที่หนักกว่านั้น ยังมีหะดีษที่รายงานว่า อีหม่านนั้นยังมีถึง 60 - 70 สาขา



ตัวอย่างหะดีษอีหม่าน จากตำราหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์



หะดีษที่รายงานว่ามี 5 ข้อ

50 - حَدَّثَنَا مُسَدَّدٌ قَالَ حَدَّثَنَا إِسْمَاعِيلُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ أَخْبَرَنَا أَبُو حَيَّانَ التَّيْمِىُّ عَنْ أَبِى زُرْعَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - بَارِزًا يَوْمًا لِلنَّاسِ ، فَأَتَاهُ جِبْرِيلُ فَقَالَ مَا الإِيمَانُ قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَبِلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ » .

อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :
แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์ มีวันหนึ่งท่านได้ปรากฏตัวต่อประชาชน ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งเดินเขามาหาท่าน แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ อีหม่านคืออะไร ?
ท่านตอบว่า อีหม่านคือท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอสูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์

เศาะหี๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 50


عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ - رضى الله عنه - أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ يَوْمًا بَارِزًا لِلنَّاسِ إِذْ أَتَاهُ رَجُلٌ يَمْشِى فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَرُسُلِهِ وَلِقَائِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ الآخِرِ » .
อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :
แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์ มีวันหนึ่งท่านได้ปรากฏตัวต่อประชาชน ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งเดินเขามาหาท่าน แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ อีหม่านคืออะไร ?
ท่านตอบว่า อีหม่านคือท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอสูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์

เศาะหี๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 4777



قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَرُسُلِهِ وَلِقَائِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ الآخِرِ »

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : อัลอีหม่านคือ ท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์(อัลเลาะฮ์)
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์


จะเห็นได้ว่าหะดีษเหล่านี้ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ระบุว่า อีหม่านมี 5 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์และคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่านแค่ห้าข้อ ?



หะดีษที่รายงานว่า อีหม่านมี 7 ข้อ


อบูฮุรอยเราะฮ์รายงานว่า อีหม่านมี 7 ข้อ

108 - حَدَّثَنِى زُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ حَدَّثَنَا جَرِيرٌ عَنْ عُمَارَةَ - وَهُوَ ابْنُ الْقَعْقَاعِ - عَنْ أَبِى زُرْعَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « سَلُونِى » فَهَابُوهُ أَنْ يَسْأَلُوهُ. فَجَاءَ رَجُلٌ فَجَلَسَ عِنْدَ رُكْبَتَيْهِ. فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِسْلاَمُ قَالَ « لاَ تُشْرِكُ بِاللَّهِ شَيْئًا وَتُقِيمُ الصَّلاَةَ وَتُؤْتِى الزَّكَاةَ وَتَصُومُ رَمَضَانَ ». قَالَ صَدَقْتَ. قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ « أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكِتَابِهِ وَلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ ». قَالَ صَدَقْتَ.


อบูฮุรอยเราะฮฺรายงาน : (ท่านญิบรออีล)กล่าวว่า โอ้รอซูลุลลอฮฺ อีหม่านคืออะไร ? ท่านตอบว่า คือการที่ท่านต้องอีหม่าน
1.ต่ออัลเลาะฮ์
2.ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์
3.ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4.ต่อการพบกับอัลลอฮฺ
5.ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
6.และต้องมีอีหม่านต่อการฟื้นชีพ
7.และต้องอีหม่านต่อการลิขิต(ความดีและความชั่ว)ทั้งหมดของพระองค์
เขา(ญิบรีล)กล่าวว่า ถูกต้องแล้ว

เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 108


จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ระบุว่า อีหม่านมี 7 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์และคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่านเจ็ดข้อ ?




หะดีษที่รายงานว่า อีหม่านมี 9 ข้อ



หนังสือหะดีษที่รายงานว่ามีเก้า มีดังนี้

الإيمان أن تؤمن بالله وملائكته وكتبه ورسله وتؤمن بالجنة والنار والميزان وتؤمن بالبعث بعد الموت وتؤمن بالقدر خيره وشره (ابن حبان ، والبيهقى فى شعب الإيمان عن ابن عمر عن عمر)
أخرجه ابن حبان (1/397 ، رقم 173) ، والبيهقى فى شعب الإيمان (1/257 ، رقم 278) .

عَنِ ابْنِ عُمَرَ :
قَالَ فَمَا الْإِيمَانُ قَالَ تُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْبَعْثِ مِنْ بَعْدِ الْمَوْتِ وَالْجَنَّةِ وَالنَّارِ وَالْقَدَرِ كُلِّهِ قَالَ فَإِذَا فَعَلْتُ ذَلِكَ فَأَنَا مُؤْمِنٌ قَالَ نَعَمْ قَالَ صَدَقْتَ
تعليق شعيب الأرنؤوط : صحيح
مسند أمام احمد ح : 5856
มุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 5856

173 - أخبرنا محمد بن إسحاق بن خزيمة حدثنا يوسف بن واضح الهاشمي حدثنا معتمر بن سليمان عن أبيه عن يحيى بن يعمر قال : قلت : يا أبا عبد الرحمن - يعني لابن عمر - إن أقواما يزعمون أن ليس قدر ! قال : هل عندنا منهم أحد ؟ قلت : لا قال : فأبلغهم عني إذا لقيتم : إن ابن عمر يبرأ إلى الله منكم وأنتم برآء منه
حدثنا عمربن الخطاب قال : بينما نحن جلوس عند رسول الله صلى الله عليه و سلم في أناس إذ جاء رجل [ ليس ] عليه سحناء سفر وليس من أهل البلد يتخطى حتى ورك فجلس بين يدي رسول الله صلى الله عليه و سلم فقال : يا محمد ما الإسلام ؟ قال : ( الإسلام أن تشهد أن لا إله إلا الله وأن محمدا رسول الله وأن تقيم الصلاة وتؤتي الزكاة وتحج وتعتمر وتغتسل من الجنابة وأن تتم الوضوء وتصوم رمضان ) قال : فإذا فعلت ذلك فأنا مسلم ؟ قال : ( نعم ) قال : صدقت
قَالَ : يَا مُحَمَّدُ ، مَا الإِيمَانُ ؟ قَالَ : أَنْ تُؤْمِنَ بِاللهِ ، وَمَلائِكَتِهِ ، وَكُتُبِهِ ، وَرُسُلِهِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْجَنَّةِ وَالنَّارِ ، وَالْمِيزَانِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ بَعْدَ الْمَوْتِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ ، خَيْرِهِ وَشَرِّهِ ، قَالَ : فَإِذَا فَعَلْتُ ذَلِكَ ، فَأَنَا مُؤْمِنٌ ؟ قَالَ : نَعَمْ ،...
قال شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح

الكتاب : صحيح ابن حبان باب فرض الايمان ج 1 ص 397 ح 173
المؤلف : محمد بن حبان بن أحمد أبو حاتم التميمي البستي
الناشر : مؤسسة الرسالة – بيروت الطبعة الثانية ، 1414 - 1993
تحقيق : شعيب الأرنؤوط عدد الأجزاء : 18
الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

11- قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - (الإيمان أن تؤمن بالله وملائكته وكتبهِ، ورسُلهِ، وتؤمن بالجنة والنار، والميزان، وتؤمن بالبعث بعد الموت وتؤمن بالقدر خيره وشره) صحيح البيهقي في شعب الإيمان.
صحيح كنوز السنة النبوية المؤلف : بارع عرفان توفيق ج 1 ص 113 ح 11.

ท่านอุมัรรายงาน : (ท่านญิบรออีล)กล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด อีหม่านคืออะไร ? ท่านตอบว่าคือการที่ท่านต้องอีหม่าน
1.ต่ออัลเลาะฮ์
2.ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์
3.ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4.ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
5.และต้องอีหม่านต่อสวรรค์
6.ต่อนรก
7.ต่อมีซานตราชั่งอะมัล
8.และต้องมีอีหม่านต่อการฟื้นชีพหลังตาย
9.และต้องอีหม่านต่อการลิขิตความดีและความชั่ว

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ

ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนุฮิบบาน หะดีษที่ 173

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ


จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้ ท่านอุมัรระบุว่า อีหม่านมี 9 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอุมัรและคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่านเก้าข้อ ?



หะดีษที่รายงานว่า อีหม่านมี 12 ข้อ


อิบนุอับบาสรายงาน


قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ فَحَدِّثْنِي مَا الْإِيمَانُ قَالَ الْإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ وَتُؤْمِنَ بِالْمَوْتِ وَبِالْحَيَاةِ بَعْدَ الْمَوْتِ وَتُؤْمِنَ بِالْجَنَّةِ وَالنَّارِ وَالْحِسَابِ وَالْمِيزَانِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ
تعليق شعيب الأرنؤوط : حديث حسن

الكتاب : مسند الإمام أحمد بن حنبل المؤلف : أحمد بن حنبل أبو عبدالله الشيباني
الناشر : مؤسسة قرطبة – القاهرة عدد الأجزاء : 6 الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านญิบรีล (อะลัยฮิสลาม) กล่าวถามท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ) ว่า : จงบอกฉันว่าอีหม่านคืออะไร? ท่านนบี (ศ) ตอบว่า (รายละเอียดของ) อีหม่าน คือการที่ท่านต้องอีหม่าน

1. ต่ออัลลอฮฺ
2. ต่อวันอาคิเราะฮฺ
3. ต่อมลาอิกะฮฺ
4. ต่อบรรดาคัมภีร์และ
5. ต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ
6. อีหม่านต่อความตายและ
7. ต่อชีวิตหลังความตายและ
8. อีหม่านต่อสวรรค์
9. และ(อีหม่าน)ต่อนรกและ
10. ต่อการสอบสวนและ
11. ต่อตราชั่งอาม้าลและ
12. และต้องอีหม่านต่อการลิขิตความดีและความชั่ว

ท่านญิบรีล (อะลัยฮิสลาม) ถามว่า : หากฉันอีหม่านต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ฉันจะเป็นผู้ที่มีอีหม่านหรือไม่?
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ตอบว่า : เมื่อท่านอีหม่านต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ท่านก็เป็นผู้มีอีหม่านแล้ว

สถานะหะดีษ : หะสัน

ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 2926

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี



จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้ ท่านอิบนุอับบาสระบุว่า อีหม่านมี 12 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอิบนุอับบาสและคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่าน12 ข้อ ?



และสุดท้าย ท่านรอซูลเลาะฮ์กล่าวว่า อีหม่านนั้นมี 60-70 สาขา


บุคอรี หะดีษที่ 9

عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ - رضى الله عنه - عَنِ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً ، وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ »

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี 60 กว่าสาขา

มุสลิม หะดีษที่ 161,162
عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ عَنِ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ شُعْبَةً وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ ».

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี 70 กว่าสาขา


عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ أَوْ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً فَأَفْضَلُهَا قَوْلُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَدْنَاهَا إِمَاطَةُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيقِ وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ ».

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี 70 กว่าหรือ 60 กว่าสาขา


คำถามสำหรับวาฮาบีคือ


1. ไหนบอกว่า อีหม่านของท่านมีแค่ 6 แล้วทำไม่หะดีษเหล่านี้รายงานว่ามีถึง 60-70

2. อีหม่าน 60-70 ที่ว่านี้มีอะไรบ้าง ช่วยระบุด้วย เอาที่เศาะหิ๊หฺเท่านั้น


สรุป –

ท่านคงประจักษ์ถึงความจริงแล้วสินะว่า พวกโต๊ะครูวาฮาบีนั้นเป็นคนกำหนดตามใจตัวเองว่าอีหม่านมีแค่หก ทั้งๆที่ความจริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า อีหม่านนั้นมีมากมายเกินหกข้อ

ถามว่าเพราะอะไรพวกวาฮาบีจึงฮุก่มชีอะฮ์เช่นนั้น คำตอบก็คือ บุคคลเหล่านี้มีความตะอัซซุบและมีทัศนะคติในเชิงลบต่อผู้อื่น อีกทั้งยังมีจิตใจคับแคบ ไม่ยอมเปิดใจกว้างที่จะให้เกียรติกับมุสลิมในมัซฮับอื่นๆนั่นเอง.      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น