วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

ฟัฎลุลลอฮ์

ความเชื่อที่ผิดเพี้ยนของฟัฎลุลลอฮ์ ในเรื่อง “มุศิบัตต่าง ๆของท่านหญิงซะฮ์รอ (ซ.)ท่านอัลลามะห์ ซัยยิดมุรตะฎอ อามิลี หนึ่งจากผู้เชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์อิสลาม ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง เพื่อตอบปัญหาและสาเหตุแห่งความคลุมเครือต่างๆ ของฟัฎลุลลอฮ์ที่มีต่อท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ในหนังสือเล่มหนงที่มีชื่อว่าึ่ “มุศิบัตต่างๆ ของท่านหญิง ฟาติมะฮ์ (ซ.)” โดยที่ท่านอัลลามะห์ อามิลี นั้นเป็นเพื่อนรวมห้อง่กับฟัฎลุลลอฮ์ ซึ่งเนื้อหาในหนังสือฉบับดังกล่าว มีดังนี้สาเหตุจากการที่ ฟัฎลุลลอฮ์ ไม่เชื่อว่าท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ถูกทุบตี และบ้านของท่านก็ถูกเผา รวมทั้งเขามียังความเชื่ออีกว่า “ชะฮีดมุอ์ซิน” ซึ่งเป็นบุตรชายในครรภ์ของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ที่ได้แท้งไปเนื่องจากถูกทำร้ายโดยคอลีฟะฮ์ที่ 2 (อุมัร) นั้นไม่มีตัวตน เป็นเพราะในทัศนะของฟัฎลุลลอฮ์แล้วเรื่องนี้เป็นเพียงประวัติศาสตร์เท่านั้น มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ประการใดกับหลักศรัทธา (อะกีดะฮ์) ในสายธารอิมามิยะฮ์ แม้แต่น้อยหากจะกล่าวโดยสรุป ก็คือ ฟัฎลุลลอฮ์ ไม่ยอมรับในความชื่อที่ว่า คอลีฟะฮ์อุมัร เป็นต้นเหตุในการบุกรุกเข้าไปเผาบ้านของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.)และทำร้ายท่านจนกระทั่งทำให้ท่านหญิงฟาติมะฮ์(ซ.) ต้องแท้งบุตรในครรภ์ และต่อมาท่านก็ได้เป็นชะฮีดในที่สุดดังนั้น ฟัฎลุลลอฮ์ จึงได้ตั้งข้อสังเกตเพื่อคัดค้านต่อความเชื่อ (หรืออะดีดะฮ์) ในเรื่องที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) การถูกทำร้ายดังนี้คือ1. หากท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ถูกทำร้ายจริงทำไมท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ปกป้องท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.)?2. พวกฆาตกรไม่ได้เข้าไปในบ้านท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) แล้วพวกมันจะทุบตีท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ได้อย่างไร?3. ในเมื่อพวกมันไม่ได้ทุบตีท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.)ฉะนั้น ตามที่กล่าวว่า “สีข้างของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) หัก” นั้น เป็นความจริงหรือ?4. “ท่านมุฮ์ซิน” มีตัวตนจริงหรือไม่?ข้อ 1) ทำไมอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ปกป้องท่านหญิงฟาตีมะฮ์ (ซ.)?ตอบ : เพราะท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้เคยสั่งเสียกบท่านอิมามอะลีั (อ.) ว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเจ้า จงอดทน” จากตรงนี้เองทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ปกป้องท่านหญิงฟาตีมะฮ์ (ซ.)ข้อ 2) พวกฆาตกรไม่ได้เข้าไปในบ้านท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) แล้วพวกมันจะทุบตีท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ได้อย่างไร?ตอบ : ทั้ง ๆ ที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) อยู่ในบ้านแล้วท่านได้ถูกทุบตีและถีบจากฆาตกรคนหนึ่งนั้นเรามีหลักฐานมากมายที่เกี่ยวกับการบุกรุกเข้าไปในบ้านของท่าน โดยพวกฆาตรกรมันได้เข้าไปเผาประตูบ้านของท่าน และได้ทำร้ายท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) โดยการทุบตีและถีบท่านดังนี้• หลักฐานต่างๆ ในการเผาประตูบ้านของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.)- ซะลีม บิน เกส หน้า 585, 863-868- บิฮารุลอันวาร เล่ม 22 หน้า 484-485, เล่ม 28หน้า 269-299, 306-309, 390, 411,เล่ม 30 หน้า348-350, เล่ม 31 หน้า 126, เล่ม 43 หน้า 197,เล่ม 95 หน้า 351-354, เล่ม 53 หน้า 14-23- อัลฆะดีร เล่ม 6 หน้า 391- มิสบาฮุลอันวาร- นะฮฺญุลฮัก หน้า 271, 272• “อุมัร ได้ถีบไปยังท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.)” และด้วยสาเหตุของการถีบครั้งนี้ จึงเป็นเหตุทำให้ ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ได้แท้งบุตรในครรภ์ คือชะฮีด มุฮฺซิน (มีซานุล อิติดาล เล่ม1 หน้า139,ลิซานุลมีซาน เล่ม1 หน้า268,) และจากหลักฐานอันนี้ทำให้เราเข้าใจว่า การที่พวกฆาตกรได้บุกรุกเข้าไปในบ้านของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นั้นเป็นความจริง• หลักฐานอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการทุบตีท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.)- อะมาลีศะดูก หน้า 99-101,118- บิฮารุลอันวาร เล่ม 28 หน้า 37-39, 51, 62-64,261, 268-270,- พอวัรกี 271 หรือ 281, 297-299, เล่ม 43 หน้า172, 173, 197-200, เล่ม 95 หน้า 351-354, เล่ม30 หน้า 293-295, 302, 303, 348-350, เล่ม44หน้า 149- ตัฟซีร อัยยาชี เล่ม 2 หน้า 307, 308- ซะลีม บินเกส เล่ม2 หน้า 585-586, 587, 674,675, 907ข้อ 3) ในเมื่อพวกมันไม่ได้ทุบตีท่านหญิงฟาติมะฮ์(ซ.) ฉะนั้น ตามที่กล่าวว่า สีข้างของท่านหญงฟาติมะฮ์ิ (ซ.) หักนั้น เป็นความจริงหรือ?ตอบ : ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อ 2 ข้างต้นว่าใครคือผู้ถีบท่านหญิงฟาตีมะฮ์ (ซ.) มีข้อชี้แจงดังนี้• ในเรื่องนี้นบี (ศ็อลฯ) ก็เคยบอกกับท่านอิมามอะลี(อ.) และท่านหญิงฟาตีมะฮ์ (ซ.) แล้ว ซึ่งในวันหนึ่งขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.)ท่านหญิงฟาตีมะฮ์ (ซ.) ท่านอิมามฮาซัน (อ.) และท่านอิมามฮูเซ็น (อ.) ได้ไปหาท่านนบี (ศ็อลฯ) และท่านได้เห็นท่านนบี (ศ็อลฯ) ร้องไห้ ดังนั้นท่านอิมาม อะลี (อ.) จึงได้ถามท่านนบี (ศ็อลฯ) ว่า “ท่านร้องไห้ทำไม?” ท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้ตอบว่า “ฉันร้องไห้ ด้วยสาเหตุจากการถูกฟันขอเจ้า และการถูกตบของฟาตีมะฮ์ (ซ.)” (อะมาลี ศะดูกหน้า118,บิ ฮารุลอันวาร เล่ม28 หน้า51)• ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ได้ร้องตะโกนว่า “โอ้พ่อจ๋า รู้ไหมว่า อบูบักรและอุมัรได้ทำอะไรกับเรา?” หลังจากนั้น อุมัรก็ได้ชักดาบออกมาแล้วทุบไปยังสีข้างของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) กันฟัส (คนรับใช้ของอบูบักร) ก็ได้ใช้แซ่ฟาดไปยังไหล่ของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) ท่านหญิงจึงได้รองตะโกนอีกครั้้งว่า “โอ้พ่อจ๋า มันเกิดขึ้นแล้ว” (กอเม็สบะฮออี เล่ม1 หน้า306)• หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสีข้างของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) หัก- อะมาลีศะดูก หน้า 99-101- บิฮารุลอันวาร เล่ม 28 หน้า 37-39, 261,268-270, เล่ม 43 หน้า 172-173, เล่ม82 หน้า261, เล่ม 97 หน้า 199-200, เล่ม98 หน้า 44- ซะลีม บิน เกส หน้า 586-594, 907- อะวอลิมุลอุลูม เล่ม 11 หน้า 391-392,400-404- ญะลาอุลอุยูน เล่ม 1 หน้า 186-188• นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ได้กล่าวว่าดวงตาของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) ที่ได้รับบาดเจ็บ- ซีรอตุลอะอิมมะตุลอิซนะอะชัร เล่ม 1 หน้า132- อัลอันวารุลกัดซีเยะฮ์ หน้า 42-44ข้อ 4) ท่านมุฮ์ซินมีตัวตนจริงหรือ?ตอบ : ท่านหญิงฟาตีมะฮ์ (ซ.) ได้กล่าวว่า “พวกมันได้รวบรวมไม้ฟืน และวางหน้าประตูบ้านของฉันและได้เอาไฟมา เพื่อต้องการจะเผาประตู และเราฉันยืนอยู่ด้านหลังประตู พวกมันได้สาบานต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) และพ่อของฉันว่า จะลากเราออกไปข้างนอก หลังจากนั้นอุมัรได้เอาแซ่จากมือของ “กันฟัส” ซึ่งเป็นคนรับใช้ของอบูบักรมา และได้ทุบมายังบ่าหรือไหล่ของฉันจนมีรอยฟกช้ำ หลังจากนั้นอุมัรก็ได้ถีบประตูแล้วประตูก็ได้กระทบมายังฉัน ซึ่งในขณะนั้นฉันกำลังตั้งครรภ์อยู่ ไม้ฟืนได้ตกยังใบหน้าของฉันทำให้ให้หน้าของฉันมีรอยไหม้ แล้วอุมัรยังได้ตบยังใบหน้าของฉัน จนต่างหูของฉันตก และฉันได้ปวดครรภ์ของฉัน จากนั้นฉันก็ได้แท้งมุฮ์ซินในขณะที่มุฮ์ซินไม่มีความผิดอะไรเลย” (บิฮารุลอันวาร เชซังกี เล่ม 8 หน้า 231)จากเหตุการณ์ดังกล่าว คือ ที่มาของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.)• อัลบะละดุลอะมีน หน้า 198 หรือ 278• บิฮารุลอันวาร เล่ม 25 หน้า 373, เล่ม 28 หน้า62-64,73, 262, 268, 270, เล่ม 29 หน้า 129, เล่ม43 หน้า 170, 197-200, เล่ม 53 หน้า 23, เล่ม97หน้า 165-200, เล่ม99 หน้า 220“อินนาลิลลาฮิ วะอินนาอิลัย ฮิรอญิอูน”ข้อคิดจากบทความ : คำพูดของฟัฎลุลลอฮ์ที่ว่าเรื่องราวการถูกซอเล็มของท่านหญิงฟาติมะฮ์ซะฮ์รอ (ซ.) เป็นเพียงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ที่ไม่ต้องใส่ใจ มันหมายความว่า เขาผู้นี้ “ฟัลุลลอฮ์”มีอะกิดะฮ์เช่นไร? และหากว่า อะกีดะฮ์ของคนที่อ้างตนว่า เป็นมัรญิอ์ เป็นผู้ที่ทำคุณานุประโยชน์ให้แก่โลกอิสลามนั้น เป็นเช่นนี้แล้วล่ะก็ อะกีดะฮ์ของผู้ที่เป็นมุก็อดลิดจะเป็นเช่นไรกัน??

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ท่านศาสดา (ซล.)รู้ถึงการเป็นชะอีดของท่านอิมามฮูเซ็น (อ) หรือไม่ ?




ตามรายงานในหนังสือ ฮะดิษ กล่าวไว้ว่า ท่านศาสดา(ซล.)รับรู้ถึงข่าวคราวในการเป็นชะอีดของท่านอีมามฮูเซ็น (อ) นับครั้นไม่ถ้วนโดยผ่านทางญิบรออีล ซึ่งในที่นี้เพียงแค่นำเสนอบางฮะดิษดังนี้



1. ฮะดิษที่ได้รายงานจากท่าน หญิง อาอีซะฮ์

วันหนึ่งขณะที่ท่านอิมามฮูเซ็น(อ) กำลังนั่งบนตักของท่านศาสดา (ซล)ซึ่งท่านศาสดาได้จุมพิต ท่านอิมามฮูเซ็น(อ) และแล้วท่านญิบรออีลก็ได้เสด็จลงมา และกล่าวว่า “โอ้รอซูลลุลลอฮฺ! ท่านรักเด็กคนนี้ใช่หรือ ? ท่านศาสดากล่าวตอบว่า แน่นอนฉันรักเด็กคนนี้มาก ญิบรออีล กล่าวอีกว่า จงรับรู้ว่าเด็กคนนี้จะถูกสังหารด้วยน้ำมือของอุมมัติของท่าน

อีกรายงานหนึ่ง นอกจากเนื้อหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังได้เสริมอีกว่า เมื่อญิบรออีลได้ลงมาหาท่านศาสดา แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านศาสดา ท่านพึงปรารถณา จะเห็นแผ่นดินที่ฮูเซ็นบุตรหลานของท่านจะถูกสังหารหรือไม่? จากนั้นญิบรออีลก็ได้ชี้ยังแผ่นดินกัรบะลา แล้วได้หยิบเศษดินสีแดงหนึ่งกำ แล้วยื่นให้กับท่านศาสดาพร้อมกล่าวว่า นั้นแหละคือดินกัรบะลาอันเป็นสถานที่ฮูเซ็นจะถูกสังหาร

เนื้อหา และรายละเอียดลักษณะเช่นนี้ได้ถูกรายงานในหนังสือฮะดิษไว้อย่างมากมาย



2. ฮะดิษที่ได้รายงานจาก อิบนู อับบาส

ก่อนที่ท่านศาสดาจะเสียชีวิต ท่านได้เดินทางยังสถานที่หนึ่ง แล้วเมื่อได้กลับมาจากการเดินทางแล้ว สีหน้าของท่านแปรผันไป พร้อมกล่าวประโยคสั่น ๆ โดยมีน้ำตาไหลออกมา แล้วกล่าวว่า “โอ้มนุษย์ชาติ ! ฉันได้ละทิ้งสองสิ่งที่สำคัญและมีค่ายิ่งสำหรับสูเจ้า คือ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตรอตีของฉัน และกล่าวจนถึงประโยค “ท่านญิบรออีลได้แจ้งข่าวให้ฉันทราบถึงข่าวคราวที่ฮูเซ็นผู้เป็นหลานสุดที่รักของฉัน จะถูกสังหาร ณ แผ่นดินกัรบะลา ขอให้พระองค์ทรงสาปแช่งผู้ที่สั่งหารและช่วยเหลือเขาในการสังหารครั้งนี้ ตราบจนถึงวันกียามัต



3. ฮะดิษที่รายงานโดย อะนัส บิน ฮาริษ

อะนัส บิน ฮาริษได้รายงานจากบิดาของตัวเองซึ่งเป็นสาวกท่านหนึ่งของศาสดา (ซล.)ได้รายงานว่า ฉันได้ยินท่านศาสดา(ซล.)กล่าวว่า “ฮูเซ็นจะถูกสังหารในแผ่นดินของอีรัก ผู้ใดที่อยู่ร่วมยุคสมัยกับเขาจำต้องให้การช่วยเหลือเขา





ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับท่านอิมามฮูเซ็น(อ)ณ. ท้องทุ่งกัรบาลาเมื่อเดือนมุฮัรรอมปี 61 นั้นท่านศาสดาทรงรับรู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้ว.

การร้องไห้ ให้ท่านฮูเซน(อ)

คำตอบ

ตรงกันข้ามกับคำถามที่ตั้งมา เพราะเหตุว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ)นั้น ได้ร้องไห้ และทำให้คนอื่นร้องไห้ และยังได้สั่งให้ประชาชนร้องไห้ และทำให้คนอื่นร้องไห้ด้วย เช่นกัน

หนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์ ของท่านฮุรรุล อามิลีย์ เล่ม ๔๑ หน้า ๕๐๑ บันทึกว่า

มีรายงานจากมุฮัมมัด บิน มูซา อัลมุตะวักกิล รับรายงานมาจากท่านอับดิลลาฮ์ บิน ญะอ์ฟัร อัลฮะมีรีย์ จากอะห์มัด แ ละอับดุลลอฮ์ บุตรสองคนของมุฮัมมัด บิน อีซา จากฮะซัน บิน มะห์บูบ จากอะลาอ์ บิน รอซีน จากมุฮัมมัด บิน มุสลิม จากอะบี ญะอ์ฟัร(อ)กล่าวว่า ท่านอะลี บิน ฮุเซน (อ) ได้กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาคนใด หลั่งน้ำตาร้องไห้ให้แก่การสังหารท่านฮุเซน (อ)จนกระทั่งน้ำตาไหลอาบแก้ม อัลลอฮ์จะทรงเตรียมที่พำนักห้องหนึ่งให้เขาได้อยู่อาศัยชั่วกลาลนาน ผู้ศรัทธาคนใดหลั่งน้ำตาไหลอาบแก้ม เนื่องด้วยภัยอันตรายจากศัตรูของเราที่ได้ประสบแก่เรา ในโลกนี้ อัลลอฮ์จะมอบสถานะความเป็นผู้สัตย์จริงให้แก่เขาระดับหนึ่ง ผู้ศรัทธาคนใดหลั่งน้ำตาไหลอาบแก้ม เนื่องด้วยภัยอันตรายที่เกิดขึ้นแก่พวกเรา อัลลอฮ์ จะทรงขจัดภัยอันตรายออกพ้นไปจากใบหน้าของเขา และในวันกิยามะฮ์ พระองค์จะให้เขาปลอดภัยจากความกริ้วของพระองค์ และไฟนรก

มีรายงานจากอิมามริฎอ (อ) กล่าวว่า ผู้ใดระลึกถึงภัยอันตรายที่ประสบแก่เรา แล้วร้องไห้ และทำให้คนอื่นร้องไห้ เขาจะไม่ต้องหลั่งน้ำตาอีกเลยในวันที่ดวงตาทั้งหลายร้องไห้ (วันกิยามัต) และผู้ใดนั่งร่วมในที่ชุมนุม ที่กล่าวถึงเรื่องราวของพวกเรา หัวใจของเขาจะไม่ตายในวันที่หัวใจของคนทั้งหลายได้ตาย

รายงานจากอัรร็อยยาน บิน ชะบีบ กล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ(อ) ได้กล่าวกับเขาว่า โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย ถ้าหากเจ้าจะร้องไห้ เพื่อสิ่งใดแล้วไซร้ ก็จงร้องไห้เพื่อฮุเซน บุตรของอะลี (อ) เถิด เพราะว่า ท่านถูกเชือดเหมือนกับแกะที่ถูกเชือด และยังมีอะฮ์ลุลบัยต์ที่ถูกสังหารไปพร้อมกับท่านอีก ๑๘ คน ซึ่งไม่มีใครในโลกนี้เสมอเหมือน และแน่นอน ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและแผ่นดินทั้งหลายต่างก็ร้องไห้ให้แก่เหตุการณ์สังหารท่าน อิมามริฎอยังกล่าวต่อไปอีกว่า โอ้บุตรของชะบีบเอ๋ย แท้จริงการร้องไห้ให้แก่ท่านฮุเซน(อ) จนกระทั่งหยาดน้ำตาไหลลงอาบแก้มนั้น อัลลอฮ์จะอภัยโทษให้แก่ท่าน ทุกความบาป ไม่ว่าบาปเล็กหรือบาปใหญ่ ไม่ว่าจะน้อย หรือจะมาก โอ้ บุตรของชะบีบเอ๋ย ถ้าหากท่านปรารถนาจะได้พบกับอัลลอฮ์ โดยไม่มีความบาปใดๆติดตัวของท่าน ก็จงไปเยี่ยมเยียนสุสานของท่านฮุเซน (อ) เถิด

โอ้บุตรของชะบีบเอ๋ย ถ้าหากท่านปรารถนาจะได้พำนักอาศัยในห้องหนึ่งของสวนสวรรค์ ร่วมกับท่านนบี (ศ็อลฯ) ก็จง สาปแช่งบรรดาฆาตกรที่ฆ่าท่านฮุเซนเถิด”

อะกีดะฮ ชีอะฮ

หลักศรัทธามัซฮับชีอะฮ์



เมื่อเอ่ยถึงเรื่องหลักศรัทธา ซึ่งภาษาอาหรับที่ได้ยิกันคุ้นหูก็คือเรื่องอะกีดะฮ์ / อุซูลุดดีน หรือ อีหม่าน

ประการแรกท่านต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า หลักฐานที่ชีอะฮ์ใช้อ้างอิงในเรื่องอะกีดะฮ์มีดังต่อไปนี้คือ

1. โองการจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน

2. หะดีษที่มีสายรายงานจากท่านนบีมุฮัมมัด และอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน

3. คำฟัตวาจากอุละมาอ์ชีอะฮ์ ระดับมัรญิ๊อ์ ตักลีด

4. มติของอุละมาอ์ชีอะฮ์



ชีอะฮ์ได้ยึดตัวบทหะดีษที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะอาลิฮี)กล่าวว่า :

يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى

โอ้ประชาชนทั้งหลาย ! แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ

( 1 ) คัมภีร์ของอัลลอฮฺและ

( 2 ) อิตเราะตี(คือ)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

อ้างอิงจากหนังสือ
อัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 2 : 415 หะดีษที่ 1
เศาะฮีฮุต - ติรมิซี หะดีษที่ 2978 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
ซิลซิละตุซ ซอฮีฮะฮ์ โดยเชคอัลบานี หะดีษที่ 1761


ส่วนหลักฐานที่ชีอะฮ์ยึดคำฟัตวาของมัรญิ๊อ์ตักลีดและมติของอุละมาอ์ชีอะฮ์
ก็เพราะว่า บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้กล่าวไว้ดังนี้


هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّمَا عَلَيْنَا أَنْ نُلْقِيَ إِلَيْكُمُ الْأُصُولَ وَ عَلَيْكُمْ أَنْ تُفَرِّعُوا
أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي نَصْرٍ عَنِ الرِّضَا ع قَالَ عَلَيْنَا إِلْقَاءُ الْأُصُولِ وَ عَلَيْكُمُ التَّفْرِيعُ

ท่านอิม่ามศอดิกและอิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : หน้าที่ของพวกเราคือถ่ายทอดเรื่องหลักๆ(ของศาสนา)แก่พวกท่าน ส่วนพวกท่านก็มีหน้าที่ไปจำแนกเป็นหัวย่อยๆเอาเอง

สถานะฮะดีษ : เศาะหิ๊หฺ

ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 62 ฮะดีษที่ 33201,33202

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَعْقُوبَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ يَعْقُوبَ قَالَ سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ عُثْمَانَ الْعَمْرِيَّ أَنْ يُوصِلَ لِي كِتَاباً قَدْ سَأَلْتُ فِيهِ عَنْ مَسَائِلَ أَشْكَلَتْ عَلَيَّ فَوَرَدَ التَّوْقِيعُ بِخَطِّ مَوْلَانَا صَاحِبِ الزَّمَانِ ع أَمَّا مَا سَأَلْتَ عَنْهُ أَرْشَدَكَ اللَّهُ وَ ثَبَّتَكَ إِلَى أَنْ قَالَ وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ

จากมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ จากอิสฮ๊าก บินยะอ์กูบเล่าว่า : ฉันได้ขอร้องท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน อัลอัมรีให้นำจดหมายส่ง(ให้อิม่าม)แทนฉัน ในจดหมายฉันได้ถามถึงปัญหาต่างๆที่คลุมเครือแก่ฉัน แล้วได้มีจดหมายเป็นลายเซ็นด้วยลายมือของผู้ปกครองของพวกเรา คือท่านอิม่ามศอฮิบุซซะมาน(อ)ตอบว่า : ส่วนสิ่งที่เจ้าได้ถามถึงนั้น ขออัลลอฮ์ชี้นำเจ้าและทำให้เจ้ามั่นคง จนท่านกล่าวว่า :

ส่วนกรณีเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(ในยุคที่ฉันยังไม่ปรากฏตัว) พวกเจ้าจงย้อนกลับไปยังบรรดานักรายงานฮะดีษของเรา เกี่ยวปัญหาเหล่านั้น เพราะพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกเจ้า และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์

วะซาอิลุชชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 140 ฮะดีษที่ 33424

أَحْمَدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ الطَّبْرِسِيُّ فِي الْإِحْتِجَاجِ عَنْ أَبِي مُحَمَّدٍ الْعَسْكَرِيِّ ع قال :
فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ

ท่านอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)กล่าวว่า : ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ ( ที่มีคุณสมบัติดังนี้ )

1,เป็นผู้รักษาตัวเอง(มิให้มีมลทิน)

2,ปกป้องรักษาศาสนาของเขา

3,ไม่คล้อยตามอารมณ์ต่ำของตัวเอง

4,ปฏิบัติตามคำสั่งอิม่ามผู้นำของเขา(อย่างเคร่งครัด)

ดังนั้นจำเป็นสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเขา (เรียกว่า การตักลีด)

สถานหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุล อามิลี เล่ม 27 : 131 ฮะดีษที่ 33401
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


เพราะฉะนั้นเราสามารถกล่าวเรื่องอะกีดะฮ์ชีอะฮ์เรียงตามลำดับดังนี้

1. อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอัลกุรอ่าน

2. อะกีดะฮ์ชีอะฮืจากหะดีษของบรรดาอิม่าม

3. อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์




หนึ่ง - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอัลกุรอ่าน


آَمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آَمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ

รอซูล(นบีมุฮัมมัด)นั้นได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระเจ้าของเขา และผู้มีอีหม่านทั้งหลายก็ศรัทธาด้วย ทุกคนศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดารอซูลของพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดารอซูลของพระองค์ และพวกเขาได้กล่าวว่า เราได้ยินแล้วและได้ปฏิบัติตามแล้ว การอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายัตที่ 285

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 4 ประการคือ
1. ทุกคนศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
2. มลาอิกะฮ์ของพระองค์
3. บรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4. บรรดารอซูลของพระองค์


لَيْسَ الْبِرَّ أَنْ تُوَلُّوا وُجُوهَكُمْ قِبَلَ الْمَشْرِقِ وَالْمَغْرِبِ وَلَكِنَّ الْبِرَّ مَنْ آَمَنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآَخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ

มิใช่ความดีแต่อย่างใดที่สูเจ้าทั้งหลาย จะผินหน้าของพวกสูเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แต่ทว่าความดีคือ ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ ต่อวันสุดท้ายต่อบรรดามลาอิกะฮ์ต่อคัมภีร์และต่อบรรดานบี...

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายัตที่ 177

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 5 ประการคือ
1. ศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
2. วันสุดท้าย
3. บรรดามลาอิกะฮ์
4. คัมภีร์
5. บรรดานบี


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ آمِنُواْ بِاللّهِ وَرَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِي نَزَّلَ عَلَى رَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيَ أَنزَلَ مِن قَبْلُ وَمَن يَكْفُرْ بِاللّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيدًا

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์เถิด และคัมภีร์(อัลกุรอาน)ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาก่อนหน้านั้น และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดารอซูลของพระองค์ และวันสิ้นโลกแล้วไซร้ แน่นอนเขาได้หลงทางอย่างห่างไกล

ซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ : 136

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 5 ประการคือ
1. การศรัทธาต่ออัลลอฮ์
2. มลาอิกะฮ์ของพระองค์
3. บรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4. บรรดารอซูลของพระองค์
5. วันสิ้นโลก



สอง - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากบรรดาอิม่าม



ถาม - บรรดาอิม่ามกำหนดอะกีดะฮ์ไว้กี่ข้อ ?
ตอบ

บรรดาอิม่ามได้อธิบายเรื่องหลักศรัทธา ( อะกีดะฮ์หรืออุศูลุดดีน ) ไว้ในหะดีษต่างๆมากมาย แต่ที่สำคัญต้องยึดหะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องเป็นเกณฑ์เท่านั้น
และจากหะดีษที่ถูกต้องเหล่านั้น จึงได้สรุปประเด็นหลักๆออกมาไว้ในหนังสืออะกีดะฮ์

ไม่ได้มีเงื่อนใดกำหนดว่า หลักศรัทธา(อะกีดะฮ์)นั้น ต้องถูกรวมไว้ในหะดีษเพียงบทเดียว เหมือนเรื่องหลักศรัทธามากมายที่มีอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งก็ไม่ได้ถูกรวมไว้ในหนึ่งโองการจากคัมภีร์กุรอ่าน .


เมื่อท่านต้องการศึกษาเรื่อง การรู้จักอัลเลาะฮ์ เรื่องเตาฮีด เรื่องซิฟัตของอัลเลาะฮ์ ท่านก็ต้องศึกษาหะดีษที่อิม่ามบอกเล่ารายงานไว้ดังนี้เช่น

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُسْلِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ : إِنَّ الْيَهُودَ سَأَلُوا رَسُولَ اللَّهِ ص فَقَالُوا انْسِبْ لَنَا رَبَّكَ فَلَبِثَ ثَلَاثاً لَا يُجِيبُهُمْ ثُمَّ نَزَلَتْ قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ إِلَى آخِرِهَا
الكافي ج : 1 ص : 91 ح : 1 بَابُ النِّسْبَةِ
درجة الحديث : صحيح تحقيق : مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران

มุฮัมมัด บินมุสลิมรายงาน

ท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)กล่าวว่า : แท้จริงพวกยะฮูดีได้ถามท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ว่า จงบอกเชื้อสายของพระเจ้าของท่านให้เราฟัง ท่านนบีนิ่งเฉย สามครั้งโดยไม่ได้ให้คำตอบแก่พวกเขา ต่อมาอัลกุรอานได้ประทานลงมาว่า จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า อัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงเอกะ จนถึงโองการสุดท้ายของซูเราะฮ์นี้

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 91 หะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

หมายเหตุ-
ซูเราะฮ์ที่ 112 มีชื่อว่าอัลอิคลาศ หรืออัต-เตาฮีด มีทั้งหมด 4 อายะฮ์
بسم الله الرحمن الرحيم قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ (1) اللَّهُ الصَّمَدُ (2) لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ (3) وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ (4)
ด้วยนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ
[1] จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ว่า อัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงเอกะ
[2] อัลลอฮ์นั้นทรงเป็นที่พึ่ง(ของสรรพสิ่งทั้งมวล)
[3] พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
[4] และในสากลจักรวาล ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์


เรื่องเตาฮีดและซิฟัตของอัลลอฮ์

عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ أَبِي نَجْرَانَ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا جَعْفَرٍ (الجواد) عَنِ التَّوْحِيدِ فَقُلْتُ أَتَوَهَّمُ شَيْئاً فَقَالَ نَعَمْ غَيْرَ مَعْقُولٍ وَ لَا مَحْدُودٍ فَمَا وَقَعَ وَهْمُكَ عَلَيْهِ مِنْ شَيْ‏ءٍ فَهُوَ خِلَافُهُ لَا يُشْبِهُهُ شَيْ‏ءٌ وَ لَا تُدْرِكُهُ الْأَوْهَامُ كَيْفَ تُدْرِكُهُ الْأَوْهَامُ وَ هُوَ خِلَافُ مَا يُعْقَلُ وَ خِلَافُ مَا يُتَصَوَّرُ فِي الْأَوْهَامِ إِنَّمَا يُتَوَهَّمُ شَيْ‏ءٌ غَيْرُ مَعْقُولٍ وَ لَا مَحْدُود.

كتاب الكافي بَابُ إِطْلَاقِ الْقَوْلِ بِأَنَّهُ شَيْ‏ءٌ ج 1 : 82 ح 1 صحيح

อับดุลเราะห์มานบินนัจญ์รอนเล่าว่า ผมถามอิม่ามญะวาดถึงเรื่องเตาฮีด(ว่าตอรีกที่จะมะอ์ริฟัตพระองค์นั้นเป็นอย่างไร?) ผมกล่าวว่า ฉันจะ تَـوَهُّـمคาดหมาย,นึกมโนภาพถึงอัลลอฮ์เป็น شَيْ‏ءٌ สิ่งหนึ่งและอธิบายอัลลอฮ์ด้วยสิ่งหนึ่งจะได้ไหม ? ท่านตอบว่า ได้สิ แต่สิ่งนั้นต้องไม่กินกับปัญญาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ถูกจำกัด ดังนั้นเมื่อเจ้านึกคิดถึงอัลลอฮ์เป็นสิ่งหนึ่ง อัลลอฮ์ก็คิล๊าฟ خِلَافُهُกับสิ่งนั้น จะนำสิ่งนั้นมาเปรียบเทียบให้เหมือนอัลลอฮ์ไม่ได้
และจินตนาการ أَوْهَامُ ไม่อาจหยั่ง إدراك ถึงอัลลอฮ์ได้
จินตนาการ أوهام จะ إدراك ถึงอัลลอฮ์ได้อย่างไรเล่า ? ในเมื่ออัลลอฮ์คิล๊าฟกับสิ่งที่กินกับปัญญา และคิล๊าฟกับภาพที่อยู่ในจินตนาการ แท้จริงสิ่งที่จะนำมาเป็น MODEL = แบบจำลองในความคิด ได้ สิ่งนั้นจะต้องไม่กินกับปัญญาและไม่เป็นสิ่งถูกจำกัด.

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 82 หะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


หากต้องการศึกษาเรื่องผู้อิหม่ามนำที่ชีอะฮ์ยึดถือ ก็ต้องไปดูที่การอธิบายโองการนี้จากบรรดาอิม่าม

อัลลอฮ์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าเถิด หากพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮ์ และรอซูล (คืออัลกุรอานและซุนนะฮ์) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสิ้นโลก นั่นแหล่ะเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง

ซุเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ : 59

หากอยากรู้ว่า “ อูลุลอัมริ “ ในอายะฮ์นี้เป็นใคร ก็ต้องย้อนกลับไปดูคำอธิบายความหมายของบรรดาอิม่ามดังนี้

عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّه‏ (ع) عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ } (النساء -: 59 -) فَقَالَ نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ ع

อบูบะศีรเล่าว่า : ฉันได้ถามท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)ถึงดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัลที่ตรัสว่า (สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า) บทที่ 4 : 59 ท่านอิม่ามกล่าวว่า : โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี,ฮาซันและฮูเซน

สถานะฮะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 287 ฮะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



สาม - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์


ปัจจุบันหนังสืออะกีดะฮ์ชีอะฮ์มักแบ่งหัวข้อการศึกษาหลักศรัทธาออกเป็น 5 ข้อใหญ่ๆคือ
1. เตาฮีด
2. อะดิล
3. นุบูวะฮ์
4. อิมามะฮ์
5. มะอ๊าดหรือกิยามะฮ์

อะกีดะฮชีอะฮ จาการแบ่งของอุลามา

อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์

ปัจจุบันหนังสืออะกีดะฮ์ชีอะฮ์มักแบ่งหัวข้อการศึกษาหลักศรัทธาออกเป็น 5 ข้อใหญ่ๆคือ
1. เตาฮีด
2. อะดิล
3. นุบูวะฮ์
4. อิมามะฮ์
5. มะอ๊าดหรือกิยามะฮ์




ปัญหาคือหนังสืออะกีดะฮ์เหล่านั้นไม่ได้บอกว่า อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้มีที่มา ที่ไปอย่างไร ใครกำหนด ดังนั้นฝ่ายซุนนี่จึงหยิบยกเอาเรื่องนี้มาโจมตี โดยถามว่า



ใครกำหนดอะกีดะฮ์ ห้าข้อนี้ ?


ตอบ เชคมุฟีด

เชคมุฟีด ชื่อจริงคือ มุฮัมมัด บินมุฮัมมัด บินอัน-นุอ์มาน ชาวเมืองแบกแดด ประเทศอิรัค เกิดวันที่ 11 ซุลกิอ์ดะฮ์ ฮ.ศ.336 มรณะคืนวันศุกร์ที่ 3 รอมฎอน ฮ.ศ. 413 รวมอายุ 95 ปี สัยยิดมุรตะฏอเป็นอิม่ามนำ นมาซญะนาซะฮ์ให้ มีทั้งซุนนี่และชีอะฮ์มาร่วมนมาซญะนาซะฮ์ให้เขาอย่างเนืองแน่น เดิมร่างถูกฝังไว้ที่บ้านสองปี ต่อมาได้ย้ายไปฝังไว้ที่เมืองกาซิมัยน์ เคียงข้างกับอาจารย์ของเขาคือเชคศอดูก ตรงบิรเวณด้านล่างสุสานของท่านอิม่ามญะวาด อะลัยฮิสสลาม
เชคมุฟีดนับได้ว่าเป็นนักวิชาการที่มีความรู้สูงสุดในยุคที่เขามีชีวิตอยู่ มีความฉลาดหลักแหลมในการตอบคำถามและเชี่ยวชาญวิชาฟิกฮ์ ,ริวายะฮ์และอิลมุลกะลาม เขาแต่งตำราไว้สองร้อยกว่าเล่ม ซึ่งคนรุ่นหลังล้วนได้รับประโยชน์จากเขาอย่างมากมาย

เชคมุฟีด คือบุคคลแรกที่ได้ประมวลอะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากกุรอ่านและฮะดีษไว้หนังสือชื่อ “ อัน-นุกัต อัลเอี๊ยะอ์ติกอดียะฮ์ “ หนังสือเล่มนี้เชคมุฟีดได้แบ่งหลักศรัทธาออกเป็น 5 บทคือ
1. มะอ์ริฟะตุลเลาะฮ์วะศิฟาติฮี (การรู้จักพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์)
2. อัลอัดลุ (ความยุติธรรมของอัลลอฮ์)
3. อัน-นุบูวะฮ์ ( การศรัทธาต่อศาสดาของอัลลอฮ์)
4. อัลอิมามะฮ์ ( การศรัทธาต่อผู้นำที่สืบต่อจากนบีมุฮัมมัด)
5. อัลมะอ๊าด (การศรัทธาต่อวันปรโลก)


ยุคต่อมานักวิชาการชีอะฮ์ได้เรียบเรียงหนังสืออะกีดะฮ์โดยแบ่งเรื่องหลักศรัทธาออกเป็นห้าหัวข้อเหมือนที่เชคมุฟีดได้นำเสนอไว้จนกลายเป็นเรื่องมุตะวาติรถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัลลอฮุอะอ์ลัม.




ถาม

อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้มีกุรอ่านหรือหะดีษกล่าวไว้หรือไม่

ตอบ

อะกีดะฮ์ทั้งห้านี้ได้เอามาจากอัลกุรอานและฮะดีษ เพียงแต่ไม่ได้กล่าวเรียงกันเท่านั้น

หากกล่าวว่า :

เมื่ออะฮ์ลุลบัยต์ไม่ได้กำหนดแสดงว่าอะกีดะฮ์ทั้งห้านี้เป็นเรื่องบิดอะฮ์

ขอถามซุนนี่วาฮาบีว่า

เชคมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ผู้ก่อตั้งแนวทางวาฮาบี (1115-1206 ฮ.ศ.) ได้แบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทคือ 1,เตาฮีดอุลูฮียะฮ์ 2, เตาฮีดรุบูบียะฮ์ 3, เตาฮีดอัสมาอ์วะซิฟาต
ซึ่งการแบ่งนี้ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮะดีษนบี และบรรดาซอฮาบะฮ์ ตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน ก็ไม่ได้กล่าวไว้เลยเป็นที่ทราบดีว่า การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ข้อเช่นนี้ไม่เคยมีในยุคศตวรรษที่ 3 จนถึงศตวรรษที่ 6 เมื่อถึงศตวรรษที่ 7 การแบ่งเตาฮีดเป็นอุลูฮียะฮฺและรุบูบียะฮฺพึ่งเกิดขึ้น

ถามว่า : การแบ่งเตาฮีดออกเป็น 3 ประเภทนี้ เป็นบิดอะฮ์ใช่ไหม ?


ซุนนี่มัซฮับอะชาอิเราะฮ์ ได้แบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 เรียกว่า ซิฟัตวายิบ 20 ข้อ คือ
1.อัลวุญูด =อัลเลาะฮ์ทรงมี 2.อัลกิดัม=อัลเลาะฮ์ทรงดั้งเดิม 3.อัลบะกอ=อัลเลาะฮ์ทรงคงอยู่ถาวร 4.อัลมุคอละฟะตุลิลฮะวาดิษ=อัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่ 5.อัลกิยามุบินนัฟส์=อัลเลาะฮ์ทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง 6.อัลวะห์ดานียะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงเอกะหนึ่งเดียว 7.อัลกุดเราะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงสามารถ 8.อัลอิรอดะฮ์=อัลเลาะฮ์ทรงเจตนา 9.อัลอิลมุ=อัลเลาะฮ์ทรงรู้ 10.อัลหะยาอ์ =อัลเลาะฮ์ทรงเป็น 11.อัซซัมอุ=อัลเลาะฮ์ทรงได้ยิน 12.อัลบะศ็อร=อัลเลาะฮ์ทรงเห็น13.อัลกะลาม=อัลเลาะฮ์ทรงพูด 14.เกานุฮูกอดิร็อน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงอาณุภาพ 15.เกานุฮูมุรีดัน =อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเจตนา 16.เกานุฮูอาลิมัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงรอบรู้ 17.เกานุฮูฮัยญัน =อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเป็น 18.เกานุฮูซะมีอัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงได้ยิน 19.เกานุฮูบะซีร็อน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเห็น 20.เกานุฮูมุตะกัลลิมัน=อัลเลาะฮ์ผู้ทรงพูด

การแบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 ซิฟัตนี้ก็ไม่มีระบุไว้ในอัลกุรอาน ฮะดีษนบีและบรรดาซอฮาบะฮ์เช่นกัน

ถามว่า : การแบ่งซิฟัตอัลลอฮ์ออกเป็น 20 ข้อนี้ เป็นบิดอะฮ์ใช่ไหม ?


แน่นอนพวกเขาจะตอบว่า แม้อัลเลาะฮ์และรอซูลไม่ได้กำหนดไว้เช่นนี้ แต่อุละมาอ์ได้เอามาจากกุรอ่านและฮะดีษ

นั่นแสดงว่าพวกเขาตอบเหมือนที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ตอบที่ว่า อะกีดะฮ์ทั้งห้านั้นได้ประมวลมาจากกุรอ่านและฮะดีษเช่นกัน



อุละมาอ์ซุนนี่ที่มีความตะอัซซุบบางส่วน ไม่ได้ยุติการโจมตีเรื่องอะกีดะฮ์ชีอะฮ์เท่านั้น แต่ยังก้าวไปถึงขั้นฮุก่มตัดสินว่า ชีอะฮ์เป็น กาเฟร ด้วยสาเหตุที่ มีอะกีดะฮ์ไม่ตรงกับซุนนี่


หากท่านถามพวกเขาว่า แล้วซุนนี่มีอะกีดะฮ์กี่ข้อ

พวกเขาจะตอบว่า มี หก ข้อ เท่านั้น ด้วยหะดีษบทนี้

ท่านอุมัรรายงาน :

(ท่านญิบรออีลได้กล่าวกับท่านนบีมุหัมมัดว่า) : จงบอกฉันถึงอีหม่าน

ท่านนบีตอบว่า : คือท่านจะต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์

2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์

3,ต่อบรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์

5,ต่อวันอาคิเราะฮ์

6,และต้องศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์(ที่ทรงกำหนดไว้)

อ้างอิงจากหนังสือ เศาะหี๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 9


แต่ทั้งชีอะฮ์และซุนนี่ ระดับสามัญชน ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่า ความจริง ตำราหะดีษซุนนี่ มิได้รายงานว่า อะกีดะฮ์หรืออีหม่านนั้นมีแค่หกข้อ ความจริงยังมีรายงานหะดีษ ที่ระบุแตกต่างไปจากนี้ อีกมากมาย ซึ่ง อุละมาอ์ซุนนี่ ไม่เคยนำเรื่องนี้มาพูด


ตอนต่อไปเราจะมา ศึกษาหะดีษ อีหม่านซุนนี่ ที่รายงานแตกต่างไปจาก หะดีษข้างต้น อินชาอัลเลาะฮ์    


(ท่านญิบรออีลได้กล่าวกับท่านนบีมุหัมมัดว่า) : จงบอกฉันถึงอีหม่าน
ท่านนบีตอบว่า : คือท่านจะต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์

2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์

3,ต่อบรรดาคัมภีร์

4,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์

5,ต่อวันอาคิเราะฮ์

6,และต้องศรัทธาต่อการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์(ที่ทรงกำหนดไว้)

อ้างอิงจาก เศาะหี๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 9[/color]


จากหะดีษบทนี้ พวกวาฮาบีจึงนำมาใช้ฮุก่มแบบชุ่ยๆว่า ชีอะฮ์ เป็น กาเฟร

โดยให้เหตุผลว่า เพราะพวกเขามีอีหม่าน 6 แต่ชีอะฮ์มีอีหม่าน 5



ท่านคงเคยได้ยินพวกโต๊ะครูวาฮาบี บางส่วนในบ้านเราเช่น เชค ริดอ สะมะดี อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ อาจารย์มุรีด ทิมะเสน ที่ออกมาตะโกนปาวๆว่า ชีอะฮ์เป็นกาเฟรเพราะพวกเขามีอีหม่านแค่ห้าข้อ


คำถามคือ


จริงหรือที่ท่านรอซูลุลเลาะฮ์กล่าวว่า อีหม่านนั้นมีแค่หกข้อ เราจะมาแสวงหาความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ข้ออ้างอันนี้ด้วยกัน


หลังจากที่เราได้เข้าไปตรวจสอบหะดีษที่รายงานเรื่องอีหม่านในตำราหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์ ปรากฏว่า
เราพบหะดีษอีกมากมายที่ได้รายงานแตกต่างกันไป กล่าวคือ มีรายงานจากท่านรอซูลุลเลาะฮ์ที่ระบุว่า อีหม่านนั้น มีตั้งแต่ 1 ข้อ จนถึง 12 ข้อ



ไม่ใช่มีเฉพาะแค่ 6 ข้อ ตามที่โต๊ะครูวาฮาบีกำลังหลอกลวงประชาชนอยู่ตามเวทีปราศัยทั่วไป
และที่หนักกว่านั้น ยังมีหะดีษที่รายงานว่า อีหม่านนั้นยังมีถึง 60 - 70 สาขา



ตัวอย่างหะดีษอีหม่าน จากตำราหะดีษของอะฮ์ลุสสุนนะฮ์



หะดีษที่รายงานว่ามี 5 ข้อ

50 - حَدَّثَنَا مُسَدَّدٌ قَالَ حَدَّثَنَا إِسْمَاعِيلُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ أَخْبَرَنَا أَبُو حَيَّانَ التَّيْمِىُّ عَنْ أَبِى زُرْعَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ كَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - بَارِزًا يَوْمًا لِلنَّاسِ ، فَأَتَاهُ جِبْرِيلُ فَقَالَ مَا الإِيمَانُ قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَبِلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ » .

อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :
แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์ มีวันหนึ่งท่านได้ปรากฏตัวต่อประชาชน ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งเดินเขามาหาท่าน แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ อีหม่านคืออะไร ?
ท่านตอบว่า อีหม่านคือท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอสูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์

เศาะหี๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 50


عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ - رضى الله عنه - أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ يَوْمًا بَارِزًا لِلنَّاسِ إِذْ أَتَاهُ رَجُلٌ يَمْشِى فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَرُسُلِهِ وَلِقَائِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ الآخِرِ » .
อบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานว่า :
แท้จริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์ มีวันหนึ่งท่านได้ปรากฏตัวต่อประชาชน ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งเดินเขามาหาท่าน แล้วเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอซูลุลเลาะฮ์ อีหม่านคืออะไร ?
ท่านตอบว่า อีหม่านคือท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอสูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์

เศาะหี๊หฺบุคอรี หะดีษที่ 4777



قَالَ « الإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَرُسُلِهِ وَلِقَائِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ الآخِرِ »

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า : อัลอีหม่านคือ ท่านต้องศรัทธา

1.ต่ออัลเลาะฮ์
2,ต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์
3,ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
4,ต่อการพบกับพระองค์(อัลเลาะฮ์)
5,ต่อการฟื้นขึ้นมาในวันอาคิเราะฮ์


จะเห็นได้ว่าหะดีษเหล่านี้ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ระบุว่า อีหม่านมี 5 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์และคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่านแค่ห้าข้อ ?



หะดีษที่รายงานว่า อีหม่านมี 7 ข้อ


อบูฮุรอยเราะฮ์รายงานว่า อีหม่านมี 7 ข้อ

108 - حَدَّثَنِى زُهَيْرُ بْنُ حَرْبٍ حَدَّثَنَا جَرِيرٌ عَنْ عُمَارَةَ - وَهُوَ ابْنُ الْقَعْقَاعِ - عَنْ أَبِى زُرْعَةَ عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « سَلُونِى » فَهَابُوهُ أَنْ يَسْأَلُوهُ. فَجَاءَ رَجُلٌ فَجَلَسَ عِنْدَ رُكْبَتَيْهِ. فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِسْلاَمُ قَالَ « لاَ تُشْرِكُ بِاللَّهِ شَيْئًا وَتُقِيمُ الصَّلاَةَ وَتُؤْتِى الزَّكَاةَ وَتَصُومُ رَمَضَانَ ». قَالَ صَدَقْتَ. قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا الإِيمَانُ قَالَ « أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكِتَابِهِ وَلِقَائِهِ وَرُسُلِهِ وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ ». قَالَ صَدَقْتَ.


อบูฮุรอยเราะฮฺรายงาน : (ท่านญิบรออีล)กล่าวว่า โอ้รอซูลุลลอฮฺ อีหม่านคืออะไร ? ท่านตอบว่า คือการที่ท่านต้องอีหม่าน
1.ต่ออัลเลาะฮ์
2.ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์
3.ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4.ต่อการพบกับอัลลอฮฺ
5.ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
6.และต้องมีอีหม่านต่อการฟื้นชีพ
7.และต้องอีหม่านต่อการลิขิต(ความดีและความชั่ว)ทั้งหมดของพระองค์
เขา(ญิบรีล)กล่าวว่า ถูกต้องแล้ว

เศาะหิ๊หฺมุสลิม หะดีษที่ 108


จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ระบุว่า อีหม่านมี 7 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์และคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่านเจ็ดข้อ ?




หะดีษที่รายงานว่า อีหม่านมี 9 ข้อ



หนังสือหะดีษที่รายงานว่ามีเก้า มีดังนี้

الإيمان أن تؤمن بالله وملائكته وكتبه ورسله وتؤمن بالجنة والنار والميزان وتؤمن بالبعث بعد الموت وتؤمن بالقدر خيره وشره (ابن حبان ، والبيهقى فى شعب الإيمان عن ابن عمر عن عمر)
أخرجه ابن حبان (1/397 ، رقم 173) ، والبيهقى فى شعب الإيمان (1/257 ، رقم 278) .

عَنِ ابْنِ عُمَرَ :
قَالَ فَمَا الْإِيمَانُ قَالَ تُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْبَعْثِ مِنْ بَعْدِ الْمَوْتِ وَالْجَنَّةِ وَالنَّارِ وَالْقَدَرِ كُلِّهِ قَالَ فَإِذَا فَعَلْتُ ذَلِكَ فَأَنَا مُؤْمِنٌ قَالَ نَعَمْ قَالَ صَدَقْتَ
تعليق شعيب الأرنؤوط : صحيح
مسند أمام احمد ح : 5856
มุสนัดอิหม่ามอะหมัด หะดีษที่ 5856

173 - أخبرنا محمد بن إسحاق بن خزيمة حدثنا يوسف بن واضح الهاشمي حدثنا معتمر بن سليمان عن أبيه عن يحيى بن يعمر قال : قلت : يا أبا عبد الرحمن - يعني لابن عمر - إن أقواما يزعمون أن ليس قدر ! قال : هل عندنا منهم أحد ؟ قلت : لا قال : فأبلغهم عني إذا لقيتم : إن ابن عمر يبرأ إلى الله منكم وأنتم برآء منه
حدثنا عمربن الخطاب قال : بينما نحن جلوس عند رسول الله صلى الله عليه و سلم في أناس إذ جاء رجل [ ليس ] عليه سحناء سفر وليس من أهل البلد يتخطى حتى ورك فجلس بين يدي رسول الله صلى الله عليه و سلم فقال : يا محمد ما الإسلام ؟ قال : ( الإسلام أن تشهد أن لا إله إلا الله وأن محمدا رسول الله وأن تقيم الصلاة وتؤتي الزكاة وتحج وتعتمر وتغتسل من الجنابة وأن تتم الوضوء وتصوم رمضان ) قال : فإذا فعلت ذلك فأنا مسلم ؟ قال : ( نعم ) قال : صدقت
قَالَ : يَا مُحَمَّدُ ، مَا الإِيمَانُ ؟ قَالَ : أَنْ تُؤْمِنَ بِاللهِ ، وَمَلائِكَتِهِ ، وَكُتُبِهِ ، وَرُسُلِهِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْجَنَّةِ وَالنَّارِ ، وَالْمِيزَانِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْبَعْثِ بَعْدَ الْمَوْتِ ، وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ ، خَيْرِهِ وَشَرِّهِ ، قَالَ : فَإِذَا فَعَلْتُ ذَلِكَ ، فَأَنَا مُؤْمِنٌ ؟ قَالَ : نَعَمْ ،...
قال شعيب الأرنؤوط : إسناده صحيح

الكتاب : صحيح ابن حبان باب فرض الايمان ج 1 ص 397 ح 173
المؤلف : محمد بن حبان بن أحمد أبو حاتم التميمي البستي
الناشر : مؤسسة الرسالة – بيروت الطبعة الثانية ، 1414 - 1993
تحقيق : شعيب الأرنؤوط عدد الأجزاء : 18
الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

11- قال رسول الله - صلى الله عليه وسلم - (الإيمان أن تؤمن بالله وملائكته وكتبهِ، ورسُلهِ، وتؤمن بالجنة والنار، والميزان، وتؤمن بالبعث بعد الموت وتؤمن بالقدر خيره وشره) صحيح البيهقي في شعب الإيمان.
صحيح كنوز السنة النبوية المؤلف : بارع عرفان توفيق ج 1 ص 113 ح 11.

ท่านอุมัรรายงาน : (ท่านญิบรออีล)กล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด อีหม่านคืออะไร ? ท่านตอบว่าคือการที่ท่านต้องอีหม่าน
1.ต่ออัลเลาะฮ์
2.ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์
3.ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4.ต่อบรรดารอซูลของพระองค์
5.และต้องอีหม่านต่อสวรรค์
6.ต่อนรก
7.ต่อมีซานตราชั่งอะมัล
8.และต้องมีอีหม่านต่อการฟื้นชีพหลังตาย
9.และต้องอีหม่านต่อการลิขิตความดีและความชั่ว

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ

ดูเศาะหิ๊หฺ อิบนุฮิบบาน หะดีษที่ 173

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏ


จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้ ท่านอุมัรระบุว่า อีหม่านมี 9 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอุมัรและคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่านเก้าข้อ ?



หะดีษที่รายงานว่า อีหม่านมี 12 ข้อ


อิบนุอับบาสรายงาน


قَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ فَحَدِّثْنِي مَا الْإِيمَانُ قَالَ الْإِيمَانُ أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ وَتُؤْمِنَ بِالْمَوْتِ وَبِالْحَيَاةِ بَعْدَ الْمَوْتِ وَتُؤْمِنَ بِالْجَنَّةِ وَالنَّارِ وَالْحِسَابِ وَالْمِيزَانِ وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ كُلِّهِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ
تعليق شعيب الأرنؤوط : حديث حسن

الكتاب : مسند الإمام أحمد بن حنبل المؤلف : أحمد بن حنبل أبو عبدالله الشيباني
الناشر : مؤسسة قرطبة – القاهرة عدد الأجزاء : 6 الأحاديث مذيلة بأحكام شعيب الأرنؤوط عليها

ท่านอิบนุอับบาสเล่าว่า : ท่านญิบรีล (อะลัยฮิสลาม) กล่าวถามท่านรอซูลุลลอฮฺ (ศ) ว่า : จงบอกฉันว่าอีหม่านคืออะไร? ท่านนบี (ศ) ตอบว่า (รายละเอียดของ) อีหม่าน คือการที่ท่านต้องอีหม่าน

1. ต่ออัลลอฮฺ
2. ต่อวันอาคิเราะฮฺ
3. ต่อมลาอิกะฮฺ
4. ต่อบรรดาคัมภีร์และ
5. ต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ
6. อีหม่านต่อความตายและ
7. ต่อชีวิตหลังความตายและ
8. อีหม่านต่อสวรรค์
9. และ(อีหม่าน)ต่อนรกและ
10. ต่อการสอบสวนและ
11. ต่อตราชั่งอาม้าลและ
12. และต้องอีหม่านต่อการลิขิตความดีและความชั่ว

ท่านญิบรีล (อะลัยฮิสลาม) ถามว่า : หากฉันอีหม่านต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ฉันจะเป็นผู้ที่มีอีหม่านหรือไม่?
ท่านรอซูลุลลอฮฺ(ศ)ตอบว่า : เมื่อท่านอีหม่านต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ท่านก็เป็นผู้มีอีหม่านแล้ว

สถานะหะดีษ : หะสัน

ดูมุสนัดอะหมัด หะดีษที่ 2926

ตรวจทานโดยเชคชุเอบ อัลอัรนะอูฏี



จะเห็นได้ว่าหะดีษนี้ ท่านอิบนุอับบาสระบุว่า อีหม่านมี 12 ข้อเท่านั้น

ถามว่า ท่านอิบนุอับบาสและคนที่เชื่อถือตามหะดีษเหล่านี้ ก็ตกเป็นกาเฟรด้วยใช่ไหม เพราะพวกเขามีอีหม่าน12 ข้อ ?



และสุดท้าย ท่านรอซูลเลาะฮ์กล่าวว่า อีหม่านนั้นมี 60-70 สาขา


บุคอรี หะดีษที่ 9

عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ - رضى الله عنه - عَنِ النَّبِىِّ - صلى الله عليه وسلم - قَالَ « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً ، وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ »

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี 60 กว่าสาขา

มุสลิม หะดีษที่ 161,162
عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ عَنِ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- قَالَ « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ شُعْبَةً وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ ».

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี 70 กว่าสาขา


عَنْ أَبِى هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- « الإِيمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُونَ أَوْ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً فَأَفْضَلُهَا قَوْلُ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَأَدْنَاهَا إِمَاطَةُ الأَذَى عَنِ الطَّرِيقِ وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإِيمَانِ ».

อบูฮุรอยเราะฮ์เล่าว่า : ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า อัลอีหม่านนั้นมี 70 กว่าหรือ 60 กว่าสาขา


คำถามสำหรับวาฮาบีคือ


1. ไหนบอกว่า อีหม่านของท่านมีแค่ 6 แล้วทำไม่หะดีษเหล่านี้รายงานว่ามีถึง 60-70

2. อีหม่าน 60-70 ที่ว่านี้มีอะไรบ้าง ช่วยระบุด้วย เอาที่เศาะหิ๊หฺเท่านั้น


สรุป –

ท่านคงประจักษ์ถึงความจริงแล้วสินะว่า พวกโต๊ะครูวาฮาบีนั้นเป็นคนกำหนดตามใจตัวเองว่าอีหม่านมีแค่หก ทั้งๆที่ความจริงท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ)ได้กล่าวว่า อีหม่านนั้นมีมากมายเกินหกข้อ

ถามว่าเพราะอะไรพวกวาฮาบีจึงฮุก่มชีอะฮ์เช่นนั้น คำตอบก็คือ บุคคลเหล่านี้มีความตะอัซซุบและมีทัศนะคติในเชิงลบต่อผู้อื่น อีกทั้งยังมีจิตใจคับแคบ ไม่ยอมเปิดใจกว้างที่จะให้เกียรติกับมุสลิมในมัซฮับอื่นๆนั่นเอง.      

อิมามมะฮดี มาจากสายตระกูลของอิมามฮูเซน

อิม่ามมะฮ์ดีคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอิม่ามฮูเซน บุตรอิม่ามอาลี (อ)


หลักฐานความเชื่อของชีอะฮ์ในเรื่องนีคือ




رَوَاهُ الشَّيْخُ عَلِيُّ بْنُ الْحُسَيْنِ بْنِ باَبَوَيْه الْقُمِّيُّ (المتوفي 329 هـ) وَالِدُ الشَّيْخِ الصَّدُوْقِ :

سَعْدُ بْنُ عَبْدِ اللهِ قاَلَ : حَدَّثَناَ يَعْقُوبُ بْنُ يَزِيْدَ، عَنْ حَمَّادِ بْنِ عِيسَى عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ مُسْكاَنَ، عَنْ أَبَانَ بْنِ تَغْلِبَ ، عَنْ سُلَيْمِ بْنِ قَيْسٍ الْهِلاَلِيِّ، عَنْ سَلْمَانَ الْفَارِسِىِّ رَضِىَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ : دَخَلْتُ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ ، فَإِذا الْحُسَيْنُ بْنُ عَلِيٍّ عَلَى فَخِذِهِ، وَهُوَ يُقَبِّلُ عَيْنَيْهِ وَيَلْثِمُ فاَهُ، وَيَقُوْلُ : أَنْتَ سَيِّدٌ اِبْنُ سَيِّدٍ، أَنْتَ إِماَمٌ اِبْنُ إِماَمٍ أَبُوْأَئِمَّةٍ، أَنْتَ حُجَّةُ اللهِ اِبْنُ حُجَّتِهِ، وَأَبُوْحُجَجٍ تِسْعَةُ مِنْ صُلْبِكَ، تاَسِعُهُمْ قاَئِمُهُمْ

كِتاَب : الْإِماَمَةُ وَالتَّبْصِرَةُ مِنَ الْحَيْرَةِ ص 111 ح 96
باَبُ : 29 أنَّ الْمَهْدِيَّ مِنْ وَلَدِ الْحُسَيْنِ عَلَيْهِ السَّلاَمٌ
لِواَلِدِ الصَّدُوْقِ الشيخُ عَلِيُّ بْنُ الحسين بن باَبَوَيْه القمي (المتوفي 329 هـ)


เชคอาลี บินอัลฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี (มรณะฮ.ศ. 329) คือบิดาเชคศอดูก รายงานว่า

สะอัด บินอับดุลลอฮ์กล่าวว่า : ยะอ์กูบ บินยาซีด เล่าให้เราฟัง จากฮัมมาด บินอีซา จากอับดุลลอฮ์ บินมุสกาน จากอะบาน บินตัฆลิบ จากสุลัยม์ บินก็อยส์ จาก

ท่านซัลมานอัลฟาริซี (รฎ.)เล่าว่า :



ฉันได้เข้ามาหาท่านนะบี(ศ) แล้วมีท่านฮูเซน บินอาลีอยู่บนตักของท่าน ขณะนั้นท่านกำลังจูบดวงตาทั้งสองของเขาและจูบปากของเขาและท่านกล่าว(กับหลาน)ว่า :

เจ้าคือสัยยิด บุตรของสัยยิด

เจ้าคืออิม่ามผู้นำ บุตรของอิม่ามผู้นำ คือบิดาของบรรดาอิม่าม

เจ้าคือฮุจญะฮ์(หลักฐาน)ของอัลลอฮ์ คือบุตรของฮุจญะฮ์ของพระองค์
และคือบิดาของบรรดาฮุจญะฮ์ทั้งเก้าคนที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้า


คนที่เก้าของพวกเขาคือ กออิม(ฉายาของอัลมะฮ์ดี)ของพวกเขา


อ้างอิงจากหนังสือ อัลอิมามะฮ์ วัตตับศิเราะฮ์ หน้า 1111 หะดีษที่ 96
บาบที่ 29 เรื่องอัลมะฮ์ดีนั้นมาจากบุตรของอิม่ามฮูเซน (อ)
โดยเชคอาลี บินอัลฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี (มรณะฮ.ศ. 329) บิดาของเชคศอดูก




۩ พิเคราะห์สะนัด

เชคอาลี บินอัลฮูเซน บินบาบะวัยฮฺ อัลกุมมี (มรณะฮ.ศ. 329) เขาคือบิดาเชคศอดูก

الشيخ علي بن الحسين بن بابويه القمي(ت329) والد الشيخ الصدوق
علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي شيخ القميين في عصره، ومتقدمهم، وفقيههم، وثقتهم
رجال النجاشي رقم : 684
علي بن الحسين بن موسى بن بابويه القمي، يكنى أبا الحسن، ثقة،
رجال الشيخ الطوسي رقم 6191
สะอัด บินอับดุลลอฮ์


سعد بن عبد اللّه القمّي (المتوفى 299 أو 301هـ)
سعد بن عبد الله القمي جليل القدر، واسع الأخبار، كثير التصانيف، ثقة،
الفهرست للطوسي رقم : 306
سعد بن عبد الله بن أبي خلف الأشعري القمي أبو القاسم شيخ هذه الطائفة وفقيهها ووجهها. كان سمع من حديث العامة شيئا كثيرا
رجال النجاشي رقم : 467
سعد بن عبد الله بن ابي خلف الاشعري القمي، يكنى ابا القاسم. جليل القدر، واسع الاخبار، كثير التصانيف، ثقة،
خلاصة الاقوال للعلامة الحلي ج 1 ص 145 رقم 3

ยะอ์กูบ บินยาซีด
يعقوب بن يزيد
يعقوب بن يزيد الكاتب يزيد أبوه ثقتان.
رجال الشيخ الطوسي رقم : 5488
يعقوب بن يزيد بن حماد الأنباري السلمي روى عن أبي جعفر الثاني عليه السلام، وانتقل إلى بغداد، وكان ثقة صدوقا
رجال النجاشي رقم : 1215
يعقوب بن يزيد بن حماد الانباري السلمي ثقة صدوقا
رجال ابن داود رقم : 1735
ฮัมมาด บินอีซา
حماد بن عيسى (قبل 119 ـ 209 هـ )
حماد بن عيسى الجهني بصري، له كتب، ثقة.
رجال الشيخ الطوسي رقم : 4970

حماد بن عيسى أبو محمد الجهني
روى عن أبي عبد الله عليه السلام عشرين حديثا وأبي الحسن والرضا عليهما السلام، ومات في حياة أبي جعفر الثاني عليه السلام، ثقة في حديثه صدوقا
رجال النجاشي رقم : 370

อับดุลลอฮ์ บินมุสกาน
عبدالله بن مسكان (ت قبل 183 هـ)
عبد الله بن مسكان ثقة، عين، روى عن أبي الحسن موسى عليه السلام
رجال النجاشي رقم : 559
عبد الله بن مسكان - بالميم المضمومة، والسين الساكنة المهملة، والنون بعد الالف - أبو محمد، مولى عنزة، ثقة عين،
خلاصة الاقوال للعلامة الحلي ج 1 ص 181 رقم 22
عبدالله بن مسكان أبو محمد فقيه عين معظم من الستة الذين أجمعت العصابة على تصديقهم وثقتهم
رجال ابن داود رقم : 907

อะบาน บินตัฆลิบ
أبانُ بنُ تَغْلِب (المتوفي 141 هـ)
أبان بن تغلب بن رباح
أبو سعيد البكري الجريري مولى بني جرير بن عباد بن ضبيعة بن قيس بن ثعلبة بن عكاشة بن صعب بن علي بن بكر بن وائل، ثقة جليل القدر عظيم المنزلة في أصحابنا لقي أبا محمد علي بن الحسين و أبا جعفر و أبا عبد الله عليهم السلام و روى عنهم،
الفهرست للطوسي رقم : 51

أبان بن تغلب : ثقة جليل القدر سيد عصره وفقيهه
رجال ابن داود رقم : 4
أبان بن تغلب بن رباح : عظيم المنزلة في أصحابنا، لقي علي بن الحسين وأبا جعفر وأبا عبد الله عليهم السلام، روى عنهم،
رجال النجاشي رقم : 7
ابان بن تغلب ثقة جليل القدر عظيم الشأن في اصحابنا،
خلاصة الاقوال للعلامة الحلي ج 5 ص 16 رقم 1

สุลัยม์ บินก็อยส์
سُلَيْمُ بنُ قَيْسٍ الْهِلاَلِيُّ (وَلِدَ سنة 2 قبل الهجرة ـ المتوفي 76 هـ )

قال أحمد بن محمد بن خالد البرقي (المتوفّى274هـ) :
و من أصحاب أمير المؤمنين عليه السلام : سليم بن قيس الهلالي
رجال البرقي ج 1 ص 2

قال العلامة الحلي : والوجه عندي: الحكم بتعديل المشار اليه( اي سليم بن قيس الهلالي)
خلاصة الاقوال للعلامة الحلي ج 16 ص 5 رقم 1

قال العلامة السيد الخوانساري في روضات الجنات: (قد كان من قدماء علماء أهل البيت عليهم السلام وكبراء أصحابهم
روضات الجنات: ج 4 ص 65، 73

قال السيد محسن الأمين العاملي في أعيان الشيعة: (إن المترجم (أي سليم)...
أعيان الشيعة: ج 35 ص 293
يكفي فيه عد البرقي إياه من أولياء أمير المؤمنين عليه السلام،

قال العلامة المامقاني في تنقيح المقال: (هو من الأولياء المتنسكين والعلماء المشهورين بين العامة والخاصة، وظاهر أهل الرجال أنه ثقة معتمد عليه، وقد يطمئن بوثاقة الرجل من عد الشيخ في باب أصحاب السجاد عليه السلام إياه صاحب أمير المؤمنين عليه السلام وجعله إياه من أوليائه وغير ذلك مما لا يخفى على أهل الفن)
تنقيح المقال: ج 2 ص 54

قال المحقق الخبير السيد حسن الصدر في كتابه (تأسيس الشيعة لعلوم الإسلام): سليم ابن قيس الهلالي التابعي صاحب علي عليه السلام والملازم له وللحسنين عليهما السلام المنقطع إليهم. أول من كتب الحوادث الكائنة بعد وفاة رسول الله صلى الله عليه وآله، ثقة صدوق متكلم فقيه كثير السماع)
تأسيس الشيعة لعلوم الإسلام: ص 282، 357

قال السيد الخوئي : الاولى أن سليم بن قيس في نفسه ثقة جليل القدر عظيم الشأن
ويكفى في ذلك شهادة البرقي بانه من الاولياء من أصحاب أميرالمؤمنين عليه
معجم رجال الحديث للسيد الخوئي ج 9 ص 156 رقم : 5401


รายงานจากท่านซัลมานอัลฟาริซี (รฎ.) คือซอฮาบะฮ์ของท่านรอซูลุลเลาะฮ์(ศ
)

กรุอ่าน ซะนัด ชีอะฮ ที่พวกท่านอ่านอยู่

อัลกุรอ่านที่กษัตริย์ฟาฮัดพิมพ์แจก คือสะนัดชีอะฮ์ สะนัดกุรอ่าน ที่ใช้อ่านกันอยู่ทุกวันใครรายงาน

Φ ชาวซุนนะห์กล่าวว่า ซอฮาบะฮ์ 8 คนที่เป็นนักอ่านกุรอ่านโด่งดังคือ

1. อุษมาน บินอัฟฟาน
2. อาลี บินอะลีตอลิบ


3. อุบัย บินกะอับ

4. อับดุลลอฮ์ บินมัสอูด

5. เซด บินษาบิต

6. อะบูมูซา อัลอัชอะรี

7. อะบุด ดัรดาอ์

8. อุมัร บินค็อตตอบ



ยุคต่อมา
บรรดากุรรอ(นักอ่านกุรอ่าน)ทั้ง 10 คนจึงได้อ้างอิงการอ่านคัมภีร์กุรอ่านของพวกเขาไปยัง → ซอฮาบะฮ์ 8 คนนี้

นักอ่านกุรอ่าน หรืออัลกุรรออ์ ( القراء ) ทั้งสิบคน ได้อ้างอิงการอ่านของเขาดังนี้

1 - قراءة نافع بن عبد الرحمن الْمدني
หนึ่ง – กิรออัต(การอ่านกุรอ่าน)ของนาฟิ๊อ์ บินอับดุลเราะห์มาน อัลมะดะนี ได้รับรายงานมาจากซอฮาบะฮ์ 6 คนคือ : อุมัรบินคอตตอบ, เซดบินษาบิต ,อุบัยบินกะอับ, อิบนุอับบาส ,อับดุลลอฮ์บินอัยยาช และอะบูฮุร็อยเราะฮ์


2 - قراءة عبد الله بن كثير الْمكي
สอง – การอ่านกุรอ่านของของอับดุลลอฮ์ บินกะษีร อัลมักกี ได้รับรายงานมาจาก : อุมัรบินคอตตอบ, เซดบินษาบิต, อุบัยบินกะอับ, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัสสาอิบ

3 - قراءة أبي عمرو البصري
สาม –อะบูอัมรู อัลบัศรี ได้รับรายงานมาจาก : อุมัรบินคอตตอบ,อุษมานบินอัฟฟาน, อาลี บินอะบีตอลิบ, อิบนุมัสอูด, อะบูมูซาอัชอะรี, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์บินอัยยาช,อับดุลลอฮ์ บินอัสสาอิบ, อุบัยบินกะอับ,เซดบินษาบิตและอะบูฮุร็อยเราะฮ์

 - قراءة عبد الله بن عامر الشامي

สี่ - การอ่านกุรอ่านของอับดุลลอฮ์ บินอามิร ได้รับรายงานมาจาก อุษมานบินอัฟฟาน และอะบู ดัรดาอ์

5 - قراءة عاصم بن أبي النجود

ห้า – การอ่านกุรอ่านของอาศิม บินอะบิลนุญูด ได้รับรายงานมาจาก

อุษมานบินอัฟฟาน, อาลี บินอบีตอลิบ,อิบนุมัสอูด, เซดบินษาบิตและอุบัยบินกะอับ

6 - قراءة حمزة بن حبيب الزيات

หก – การอ่านกุรอ่านของฮัมซะฮ์ บินหะบีบ อัซซัยย๊าต ได้รับรายงานมาจาก
อุษมานบินอัฟฟาน, อาลี บินอะบีตอลิบ, อุบัยบินกะอับ, เซดบินษาบิต, อิบนุมัสอูด และฮูเซน บินอาลีบินอะลีตอลิบ

7 - قراءة علي بن حمزة الكسائي

เจ็ด – การอ่านกุรอ่านของอาลี บินฮัมซะฮ์ อัลกะซาอี ได้รับรายงานมาจาก

อุมัร บินคอตตอบ, อุษมาน บินอัฟฟาน,
อาลี บินอะลีตอลิบ, อุบัย บินกะอับ, เซด บินษาบิต, อิบนุมัสอูด, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัยยาช, อะบูฮุร็อยเราะฮ์ และฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ

8 - قراءة أبي جعفر يزيد بن القعقاع

แปด – การอ่านกุรอ่านของอะบูญะอ์ฟัร ยาซีด บินอัลเกาะอ์ก๊ออ์ ได้รับรายงานมาจาก

เซด บินษาบิต, อุบัย บินกะอับ, อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัยยาช และอะบูฮุร็อยเราะฮ์

9 - قراءة يعقوب بن إسحاق الحضرمي

เก้า – การอ่านกุรอ่านของยะอ์กูบ บินอิสฮาก อัลหัฎร่อมี ได้รับรายงานมาจาก

อุมัร บินคอตตอบ, อุษมาน บินอัฟฟาน,
อาลี บินอะลีตอลิบ, อุบัย บินกะอับ, เซด บินษาบิต, อิบนุมัสอูด, อะบูมูซาอัลอัชอะรี ,อิบนุอับบาส, อับดุลลอฮ์ บินอัยยาช, อับดุลลอฮ์ บินอัสสาอิบ และอะบูฮุร็อยเราะฮ์

10 - قراءة خلف بن هشام البزار

สิบ – การอ่านกุรอ่านของเคาะลัฟ บินฮิช่าม อัลบัซซ้าร ได้รับรายงานมาจาก

อุษมาน บินอัฟฟาน,
อาลี บินอะลีตอลิบ, อิบนุมัสอูด, เซด บินษาบิต, อุบัย บินกะอับ และฮูเซน บินอาลีบินอะบีตอลิบ




เป็นที่ทราบดีว่า การอ่านคัมภีร์กุรอ่านที่มัชฮูรนั้นมี 7 กิรออะฮ์ หมายถึงมีนักอ่านที่โด่งดังเจ็ดคนคือ

1. อิบนิอามิร อัชชามี
2. อาศิม อัลกูฟี
3. อิบนิ กะษีร อัลมักกี
4. อะบูอัมรู อัลบัศรี
5. นาฟิ๊อ์ อัลมะดะนี
6. ฮัมซะฮ์ อัลกูฟี
7. อัลกะซาอี อัลกูฟี

1 ـ عبد الله اليحصبي ، المعروف بابن عامر ( شامي ) ( ت : 118 هـ ) .
2 ـ عاصم بن أبي النجود ( كوفي ) ، ( ت : 127 هـ ) .
3 ـ عبد الله بن كثير الداري ( مكي ) ، ( ت : 129 هـ ) .
4 ـ أبو عمرو بن العلاء ( بصري ) ، ( ت : 154 هـ ) .
5 ـ نافع عبد الرحمن بن أبي نعيم ( مدني ) ، ( ت : 169 هـ ) .
6 ـ حمزة بن حبيب الزيات ( كوفي ) ، ( ت : 188 هـ ) .
7 ـ علي بن حمزة ( الكسائي الكوفي ) ( ت : 189 هـ )
และจากเจ็ดนักอ่านดังกล่าว มีนักอ่านที่เป็นชีอะฮ์ถึงสี่คนด้วยกันคือ

1. อาศิม มรณะฮ.ศ. 128
2. อะบูอัมรู มรณะฮ.ศ.154
3. ฮัมซะฮ์ มรณะฮ.ศ. 156
4. อัลกะซาอี มรณะฮ.ศ. 189

ขอให้เราจงย้อนกลับมาที่ สะนัดของคัมภีร์อัลกุรอ่าน ฉบับกษัตริย์ฟาฮัด ที่แจกจ่ายไปทั่วโลก


สะนัด(สายรายงาน)ของมุศฮัฟฉบับนี้คือ


رِوَايَةُ حَفْصُ بْنُ سُلَيْمَانَ بْنِ الْمُغِيرَةِ الْأَسَدِيُّ الْكُوفِيُّ (لِقِرِاءَةِ) ←

หัฟศ์ บินสุลัยมาน บินอัลมุฆีเราะฮ์ อัลอะซะดี อัลกูฟี (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

عَاصِمُ بْنُ أَبِي النَّجُودِ الْكُوفِيُّ التَّابِعِيُّ عَنْ ←

อาศิม บินอะบินนุญูด อัลกูฟี เป็นตาบิอี (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

أَبِي عَبْدِ الرَّحْمَنِ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ حَبِيبٍ السُّلَمِيِّ

อะบี อับดุลเราะห์มาน บินหะบีบ อัสสุละมี (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

عَنْ عُثْمَانَ بْنِ عَفَّانَ وَ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ
ท่านอุษมานบินอัฟฟาน และ ท่านอาลี บินอะลีตอลิบ (ได้รับถ่ายทอดการอ่านมาจาก)

عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ(وَآلِهِ) وَسَلَّمَ
ท่านนะบีมุฮัมมัด(ศ)

คำถามคือ บรรดานักอ่านกุรอ่านที่ได้รับถ่ายทอดเรื่องการอ่านคัมภีร์กุรอ่าน ไปจาก ท่านอาลี กับ ท่านอุษมาน เป็นใคร ???

เป็นใครในที่นี้หมายถึง เป็นซุนนี่ หรือ ชีอะฮ์


ตรงนี้สิ ที่เรา ต้องการศึกษา

ต้องขอเท้าความกันสักนิดเกี่ยวกับประวัติของคัมภีร์กุรอ่าน


พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานทะยอยประทานมาให้แก่ท่านนะบีมุฮัมมัด

นับตั้งแต่ท่านได้รับวะห์ยู (วิวรณ์) ครั้งแรก ขณะที่ท่านอายุ 40 ปี จนถึงอายุ 63 ปี รวมเวลาของการประทานอัลกุรอานทั้งหมด 23 ปี ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต (วะฟาต) ท่านได้อ่านอัลกุรอานทั้งหมดต่อหน้าญิบรีลในเดือนรอมฎอนสุดท้ายของชีวิตท่าน 2 ครั้ง

ซึ่งเดิมแล้วท่านจะอ่านต่อหน้าญิบรีลทุกๆปีในเดือนรอมฎอน 1 ครั้ง และการอ่านครั้งสุดท้ายนี้ ท่านได้อ่านอัลกุรอานเรียงตามอายะฮ์(โองการกุรอ่าน)เหมือนดังรูปเล่มอัลกุรอานที่เราได้อ่านกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ญิบรีลยังได้สอนการอ่านอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียง(กิระอะฮ์)อีกด้วย

เพราะฉะนั้นอายะฮ์แต่ละอายะฮ์ จึงได้รับการตรวจสอบจากท่านนะบี(ศ)เองโดยตรง บรรดาซอฮาบะฮ์จำนวนหลายร้อยคนที่จดจำอัลกุรอานทั้งเล่ม อย่างไรก็ดีอัลกุรอานยังไม่มีการจัดพิมพ์ให้อยู่ในเล่มเดียวเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษและระบบการพิมพ์ บรรดาซอฮาบะฮ์แต่ละท่านก็มีการรวบร่วมอัลกุรอานกันเป็นการส่วนตัว(เรียกมุศฮัฟ) ซึ่งแน่นอนว่ามีการจัดลำดับก่อนหลังที่ไม่ตรงกัน

หลังจากท่านนะบี(ศ)เสียชีวิต ท่านอุมัรบินค็อตตอบได้สนับสนุนให้ท่านอะบูบักรรวบรวมอัลกุรอานให้อยู่ในเล่มเดียวกันอย่างเป็นสากล ให้เป็นไปตามลำดับที่ท่านนะบี(ศ)ได้อ่านให้ญิบรีลก่อนจากโลกนี้ไป เนื่องจาก มีซอฮาบะฮ์ที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มเสียชีวิตไปในสงครามยะมามะฮ์หลายคน

ท่านอะบูบักรได้มอบงานนี้ให้กับท่านเซด บินษาบิต ซอฮาบะฮ์ที่เชี่ยวชาญอัลกุรอาน ทำการรวบรวมอัลกุรอานตามที่ท่านนะบี(ศ)ได้อ่านเป็นครั้งสุดท้ายกับญิบรีล อัลกุรอานฉบับนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่บ้านของฮับเซาะฮ์ บุตรสาวของท่านอุมัร

ในสมัยที่อุษมาน บินอัฟฟาน ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ รัฐอิสลามได้ขยายตัวออกไปกว้างไกล ท่านอุษมานจึงต้องการจะทำการคัดลอกต้นฉบับของอัลกุรอานส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อการเผยแผ่อัลกุรอานที่เป็นระบบ
โดยมีการจัดเรียงลำดับซูเราะฮ์(บท)อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการออกเสียงที่สอดคล้องกันทั้งรัฐ

ท่านอุษมานได้มอบงานนี้ให้กับเซดบินษาบิตและซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำการคัดสำเนาจากอัลกุรอานของท่านหญิงฮับเซาะฮ์ส่งออกไปทั่วโลกมุสลิม ต้นฉบับชุดนี้บางเล่มยังคงมีอยู่ในโลกมุสลิม



۩ วิจารณ์
► ในอดีต
ท่านอุษมานได้
ส่งคนไปขอคัมภีร์กุรอ่านต้นฉบับจากท่านหญิงฮัฟเซาะฮ์ แล้วสั่งให้ท่านเซดบินษาบิตกับซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งทำการลอกจากสำเนาที่ได้มาจากฮัฟเซาะฮ์ จากนั้นท่านอุษมานก็จัดส่งมุศฮัฟที่คัดลอกขึ้นใหม่นี้ไปยังหัวเมืองต่างๆเพื่อให้เป็นฉบับสากล

►ยุคปัจจุบัน

ประเทศซาอุดิอารเบียในฐานะเป็นประเทศต้นกำเนิดแห่งการประทานคัมภีร์อัลกุรอ่าน กษัตริย์ฟาฮัดจึงได้มอบหมายหน้าที่การดูแลเอาใจใส่ต่อคัมภีร์อัลกุรอ่านให้อยู่ภายใต้การดูแลของ

مَجْمَعُ الْمَلِكِ فَهْدٍ

{{ มัจญ์มะอ์ อัลมาลิก ฟาฮัด }}


และทางมัจญ์มะอ์ของมาลิกฟาฮัดจึงได้จัดพิมพ์คัมภีร์กุรอ่านขึ้นแล้วแจกจ่ายไปทั่วโลก เพื่อให้มุสลิมยึดอัลกุรอ่านฉบับนี้เป็นฉบับสากล

ท่านจะเห็นได้ว่า มุสลิมทั่วโลกยึดคัมภีร์กุรอ่านฉบับของมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดนี้เป็นฉบับมาตรฐาน แม้กระทั่งในประเทศไทยบ้านเรา มีคัมภีร์กุรอ่านฉบับนี้วางอยู่ในมัสญิดแทบทุกแห่ง
หากคัมภีร์ของมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดนี้ไม่เป้นที่ยอมรับ คงต้องมีนักปราชญ์อิสลามออกมาแย้งไปนานแล้ว

Θ ทางคณะกรรมการของมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัด ได้กล่าวว่า


أما أهم أهدافه فهي :
1- طباعة المصحف الشريف بالروايات المشهورة في العالم الإسلامي

เป้าหมายที่สำคัญของคัมภีร์กุรอ่านฉบับนี้คือ

หนึ่ง - ทำการตีพิมพ์มุศฮัฟฉบับนี้ด้วยริวายะฮ์(สายรายงาน)ที่มัชฮูร(โด่งดัง)ในโลกอิสลาม


ถัดมาทางมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดได้ชี้แจงถึงสายรายงานของอัลกุรอ่านฉบับนี้ว่า

طُبع المصحف الشريف في المجمع برواية حفص عن عاصم، وهي الرواية التي يُقرأ بها في معظم بلاد العالم الإسلامي، وكتب هذا المصحف على قواعد الرسم العثماني، وضُبط على ما قرره علماء الضبط مع الأخذ بعلامات الخليل بن أحمد وأتباعه من المشارقة، وعدد آياته 6236 آية وفقًا للعدد الكوفي، ومجموع صفحات 604 صفحة
มุศฮัฟ(คัมภีร์กุรอ่าน)นี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในมัจญ์มะอ์(มาลิกฟาฮัด) ด้วยริวายะฮ์(รายงาน)ของท่านฮัฟศ์ จากท่านอาศิม
และมันคือริวายะฮ์ที่ถูกอ่านกันในเมืองใหญ่ๆของโลกอิสลาม และมุศฮัฟฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นตามกฎของร็อศมุลอุษมานี...
จำนวนอายะฮ์(ทั้งหมดของมุศฮัฟฉบับนี้คือ) 6,236 อายะฮ์ตรงกับจำนวน(มุศฮัฟ)ของชาวกูฟะฮ์
มีทั้งหมด 604 หน้า


อ้างอิงจากเวบไซต์ชื่อ กุรอ่านคอมเพล็กซ์ ดอทโออาร์จี
www.qurancomplex.org/Display.asp?section...arb&f=write00013



۩ บทสรุปสั้นๆจากมัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดคือ


หนึ่ง - ได้ตีพิมพ์มุศฮัฟฉบับนี้ด้วยสายรายงานที่มัชฮูร(โด่งดัง)ในโลกอิสลาม

สอง - มุศฮัฟฉบับนี้เป็นรายงาน(ริวายะฮ์)ของ ท่านฮัฟศ์ ที่ได้รับมาจากท่านอาศิม

สาม- เมืองใหญ่ๆในโลกอิสลามใช้อัลกุรอ่านที่เป็นริวายะฮ์ของท่านฮัฟศ์อ่านกัน

สี่ - มุศฮัฟฉบับริวายะฮ์ของท่านฮัฟศ์มีทั้งหมด 6,236 อายะฮ์ ซึ่งตรงกับมุศฮัฟของชาวกูฟะฮ์
L-umar (สมาชิก)
Platinum Boarder
กระทู้: 2143
graph
สมาชิกที่ไม่ได้ออนไลน์Click here to see the profile of this user
ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน อัลกูฟี (90 – 180 ฮ.ศ.)


حفص بن سليمان أبو عمرو الأسدي الغاضري المقري البزاز الكوفي

เขาคือสาวกคนหนึ่งของท่านอิม่ามญะอ์ฟัร ซอดิก(อ) ดูริญาลเชคตูซี่ อันดับที่ 180

ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

حفص بن سليمان وهو حفص بن أبى داود، أبو عمر الاسدي، مولاهم الكوفى الغاضرى صاحب القراءة، روى عن شيخه في القراءة عاصم، وأقرأ الناس مدة، وكان ثبتا في القراءة واهيا في الحديث،

ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน เขาคือ(คนเดียวกับ)ฮัฟศ์ บินอะบีดาวูด ฉายาอะบูอัมร์อัลอะซะดี เป็นคนรับใช้ของพวกเขา ชาวกูฟะฮ์ อัลฆอฎิรี เป็นนักอ่านกุรอ่าน เขารายงานจากเชคของเขาชื่อ อาศิม เขาอ่านกุรอ่านชัดที่สุดในช่วงนั้นและยังมีความั่นคงในการอ่านกุรอ่าน แต่เขาดออีฟในการายงานหะดีษ

ดูมีซานุลอิ๊อ์ติดาล อันดับที่ 2121



ท่านอิบนุหะญัร อัสก่อลานีกล่าวว่า

حفص بن سليمان الاسدي أبو عمر البزاز الكوفي القاري ويقال له الغاضري ويعرف بحفيص
قرأ على عاصم بن أبي النجود

ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน อัลอะซะดี อะบูอัมร์ อัลบัซซ้าร อัลกูฟี เขาเป็นนักอ่านกุรอ่าน เรียกเขาว่าอัลฆอฎิรี รู้จักกันในชื่อหะฟีซ เขา(ฮัฟศ์)ได้เรียนการอ่าน(อัลกุรอ่าน)กับอาศิม บินอะบินนุญูด

ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 700


สรุปว่า ฮัฟศ์ บินสุลัยมานได้รับการถ่ายทอดการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากอาศิม บินอะบินนุญูด
อาศิม บินอะบินนุญูด

( อีกชื่อหนึ่งคือ อาศิมบินบะฮ์ดะละฮ์) มรณะ 128 ฮ.ศ.

ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

عاصم بن أبى النجود : أحد السبعة القراء الكوفى مولى بنى أسد، ثبت في القراءة،

อาศิม บินอะบินนุญูด คือหนึ่งในเจ็ดนักอ่านกุรอ่าน(ที่โด่งดัง) ชาวกูฟะฮ์ คนรับใช้ของบะนีอะซัด เขามีความมั่นคงในการอ่านอัลกุรอ่าน

ดูมีซานุลอิอ์ติดาล อันดับที่ 4068


☺ท่านซะฮะบียังได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า

อาศิม บินอะบินนุญูด เขาคืออิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ เป็นนักอ่านกุรอ่านแห่งยุค เขาเกิดในยุคการปกครองของมุอาวียะฮ์ บินอะบีสุฟยาน

وقرأ القرآن على أبي عبدالرحمن السلمي، وزر بن حبيش الاسدي، وحدث عنهما،
وهو معدود في صغار التابعين

อาศิมได้เรียนอ่านอัลกุรอ่านกับท่านอะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมีและซิรรินอัลหุบัยชินและรายงานการอ่านจากบุคคลทั้งสอง และเขาถูกนับว่าเป็นตาบิอีรุ่นเล็ก

وانتهت إليه رئاسةُ الاقراء بعد أبي عبدالرحمن السلمي شيخه، قال أبو بكر بن عياش: لما هلك أبو عبد الرحمن، جلس عاصم يقرئ الناس، وكان أحسن الناس صوتا بالقرآن حتى كأن في حنجرته جلاجل

ตำแหน่งผู้นำการอ่านอัลกุรอ่านได้สิ้นสุดลงที่เขา หลังจากอะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมี อาจารย์ของเขา(เสียชีวิต) อะบูบักรบินอัยยาชเล่าว่า เมื่อท่านอับดุลเราะห์มานเสียชีวิต อาศิมได้ขึ้นมานั่งอ่านอัลกุรอ่านให้ประชาชน และปรากฏว่าเขามีน้ำเสียงดีที่สุดในหมู่มนุษย์ต่อการอ่านอัลกุรอ่าน จนอย่างกับว่าในลำคอของเขานั้นมีระฆัง(คือเสียงดังกังวาน)

أبو بكر بن عياش: سمعت أبا إسحاق، يقول: ما رأيت أحد أقرأ من عاصم

อะบูบักร บินอัยยาชเล่าว่าฉันได้ยินอะบูอิสฮากเล่าว่า ฉันไม่เคยเห็นผู้ใดชำนาญการอ่านอัลกุรอ่านไปกว่าอาศิม

يحيى بن آدم: حدثنا الحسن بن صالح، قال: ما رأيت أحدا قط أفصح من عاصم بن أبي النجود

ยะห์ยา บินอาดัม อัลฮาซันบินซอและห์เล่าให้เราฟังว่า ฉันไม่เคยเห็นใครพูดอาหรับชัดมากไปกว่าอาศิมเลย

قال عبد الله بن أحمد بن حنبل: سألت أبي عن عاصم بن بهدلة، فقال: رجل صالح خير ثقة، قلت: أي القراءات أحب إليك ؟ قال: قراءة أهل المدينة، فإن لم يكن، فقراءة عاصم
อับดุลลอฮ์ บุตรอิม่ามอะหมัดเล่าว่า ฉันได้ถามอิหม่ามอะหมัดถึงท่านอาศิม บิดาฉันกล่าวว่า เขาคือคนซอและห์ ดี เชื่อถือได้ ฉันจึงถาม(บิดา)ว่า กิรออะฮ์ของนักอ่านคนใดที่ท่านชอบมากที่สุด ? เขาตอบว่า การอ่านกุรอ่านของชาวมะดีนะฮ์ ถ้าหากว่าไม่มีการอ่านของอาศิม(ชาวกูฟะฮ์)

قال أحمد العجلي: عاصم صاحب سنة وقراءة، كان رأسا في القرآن قدم البصرة فأقرأهم

อะหมัด อัจอิจญ์ลีกล่าวว่า อาศิมคือซอฮิบซุนนะฮ์และกิรออะฮ์(อัลกุรอ่าน) เขาเป็นหัวหน้าในเรื่องอัลกุรอ่าน เขขเข้ามาที่เมืองบัศเราะฮ์และเป็นคนอ่านกุรอ่านได้ดีที่สุดของพวกเขา

قال أبو بكر بن عياش: كان عاصم نحويا فصيحا إذا تكلم، مشهور الكلام، وكان هو والاعمش وأبو حصين الاسدي لا يبصرون

อะบูบักร บินอัยยาชเล่าว่า อาศิมเป็นนักไวยากรณ์อาหรับ พูดจาชัดเจน คำพูดเขาโด่งดัง เขาและอัลอะอ์มัชและอะบูหุศ็อยน์อัลอะซะดี มองไม่เห็น(คือตาบอดทั้งสามคน)

حماد بن زيد، عن عاصم، قال: كنا نأتي أبا عبدالرحمن السلمي، ونحن غلمة أيفاع.
قلت: هذا يوضح أنه قرأ القرآن على السلمي في صغره

หัมมาดบินเซดรายงานจากอาศิมเล่าว่า พวกเรามาหาท่านอะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมี ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กอยู่ ฉัน(ซะฮะบี)กล่าวว่า นี่แสดงว่า อาศิมเรียนอัลกุรอ่านกับท่านอัสสุละมีในวัยเด็ก

قال أبو بكر: قال عاصم : ما أقرأني أحد حرفا إلا أبو عبد الرحمن، وكان قد قرأ على علي رضي الله عنه

อะบูบักร(บินอัยยาช)เล่าว่า อาศิมกล่าวว่า ไม่มีใครอ่านอัลกุรอ่านสักหนึ่งอักษรชัดเจนไปกว่าฉันนอกจากท่านอะบูอับดุลเราะห์มาน และปรากฏว่าเขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ได้เรียนการอ่านอัลกุรอ่านกับท่านอาลี ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ

وروى جماعة عن عمرو بن الصباح، عن حفص الغاضري، عن عاصم، عن أبي عبدالرحمن، عن علي بالقراءة
นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งรายงาน จากอัมรู บินอัศศ่อบาห์ จากฮัฟศ์อัลฆอฎิรี จากอาศิม จากอะบูอับดุลเราะห์มาน จากท่านอาลี ด้วยการอ่านคัมภีร์กุรอ่าน

وذكر عاصم أنه لم يخالف أبا عبدالرحمن في شئ من قراءته، وأن أبا عبدالرحمن لم يخالف عليا رضي الله عنه في شئ من قراءته
และอาศิมยังเล่าว่า แท้จริงเขาไม่เคยขัดแย่งกับท่านอะบูอับดุลเราะห์มานในสิ่งหนึ่งจากเรื่องการอ่านอัลกุรอ่าน
และแท้จริงท่านอะบูอับดุลเราะห์มานก็ไม่เคยขัดแย่งกับท่านอาลีในสิ่งหนึ่งจากเรื่องการอ่านอัลกุรอ่าน


قلت: كان عاصم ثبتا في القراءة، صدوقا في الحديث، وقد وثقه أبو زرعة وجماعة، وقال أبو حاتم: محله الصدق، وقال الدارقطني: في حفظه شئ يعني: للحديث لا للحروف

ฉัน(ซะฮะบี)กล่าวว่า อาศิมนั้นมีความมั่นคงในการอ่านอัลกุรอ่าน เชื่อได้ในเรื่องหะดีษ
อะบูซัรอะฮ์และนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้การเชื่อถือต่อเขา และอะบูฮาติมกล่าวว่า สถานะของเขามีวาจาสัตย์ และอัดดาร่อกุฏนีกล่าวว่า ในการจำของเขานั้นมีสิ่งหนึ่ง หมายถึงสำหรับความจำเรื่องหะดีษไม่ใช่เรื่องการอ่าน
ดูสิยัรอะอ์ลามุนนุบะลาอ์ อันดับที่ 119
อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี

เกิดในสมัยท่านนะบี(ศ) และมรณะ ฮ.ศ. 73 - 74


ท่านซะฮะบีกล่าวว่า

أبو عبد الرحمن السلمي مقرئ الكوفة، الامام العلم، عبد الله بن حبيب بن ربيعة الكوفي، من أولاد الصحابة، مولده في حياة النبي صلى الله عليه وسلم

อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี นักอ่านกุรอ่าน ชาวกูฟะฮ์ เป็นอิหม่ามแห่งวิชาการ (ชื่อจริงคือ)อับดุลลอฮ์ บินหะบีบ บินร่อบีอะฮ์ อัลกูฟี เขาเป็นลูกหลานของซอฮาบะฮ์ เกิดในในสมัยท่านนะบี(ศ)มีชีวิต
เขาเรียนอ่านอัลกุรอ่านและอ่านอย่างไพเราะและยังมีความเฉลียวฉลาดในการอ่าน
และเขาได้นำเสนอการอ่าน(ของเขา)ให้ท่านอุษมาน และกับท่านอาลี ท่านอิบนุมัสอูด
อะบูอัมรูอัดดานีกล่าวว่า เขาได้รับเอาการอ่านอัลกุรอ่านมาจากท่านอุษมานและท่านอาลี ท่านเซด ท่านอุบัยและท่านอิบนุมัสอูด
ผู้ที่ได้รับถ่ายทอดการอ่านกุรอ่านไปจากเขาคือ อาศิม บินอะบินนุญูด
ชุอบะฮ์กล่าวว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มานอัสสุละมี) ไม่เคยได้ฟังจากท่านอุษมาน และไม่เคยติดตาม และ

وروى أبان العطار، عن عاصم بن بهدلة، عن أبي عبدالرحمن، قال : أخذتُ القراءة عن علي

อะบานอัลอัตต็อรรายงาน จากอาศิม บินบะฮ์ดะละฮ์ จากอะบูอับดุลเราะห์มานเล่าว่า
ฉันได้รับการถ่ายทอดเรื่องการอ่าน(อัลกุรอ่าน)จากท่านอาลี

ดูสิยัรอะอ์ลามุน-นุบะลาอ์ อันดับที่ 97


ท่านอิบนุหะญัร อัสก่อลานีกล่าวว่า

عبد الله بن حبيب بن ربيعة أبو عبد الرحمن السلمي الكوفي القاري
روى عن عمر وعثمان وعلي وسعد وخالد بن الوليد وابن مسعود وحذيفة وأبي موسى الأشعري وأبي الدرداء وأبي هريرة

อับดุลลอฮ์ บินหะบีบ บินร่อบีอะฮ์ ฉายาอะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี อัลกูฟี อัลกอรี
รายงานหะดีษจาก → ท่านอุมัร , อุษมาน , อาลี , สะอัด , คอลิด , อิบนุมัสอูด , หุซัยฟะฮ์ , อะบูมูซาอัลอัชอะรี , อะบูดัรดาอ์และอะบูฮุร็อยเราะฮ์

وعنه إبراهيم النخعي وعلقمة بن مرثد وسعد بن عبيدة وأبو إسحاق السبيعي وسعيد بن جبير وأبو الحصين الأسدي وعطاء بن السائب وعبد الأعلى بن عامر وعبد الملك بن أعين ومسلم البطين وأبو البختري الطائي وعاصم بن بهدلة وغيرهم

ผู้ที่รายงานหะดีษจากเขาคือ → อิบรอฮีม อันนะค่ออี , อัลก่อมะฮ์ บินมุรษัด , สะอัด บินอุบัยดะฮ์ , อะบูอิสฮาก อัสสะบีอี , สะอีด บินญุเบร , อะบุลหุศ็อยน์ , อะฎออ์ บินซาอิบ , อับดุลอะอ์ลา , อับดุลมะลิก บินอะอ์ยุน , มุสลิม อัลบัฏฏีน , อะบุลบุคตะรี อัตตออี และอาศิม บินบะฮ์ดะละฮ์ และคนอื่นๆ

قال أبو إسحاق السبيعي : قرأ القرآن في المسجد أربعين سنة

อะบูอิสฮากอัสสะบีอีเล่าว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ได้อ่านอัลกุรอ่านอยู่ในมัสญิดเป็นเวลาสี่สิบปี

وقال العجلي كوفي تابعي ثقة
อัลอิจญ์ลีกล่าวว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)เป็นชาวกูฟะฮ์ เป็นตาบิอี เชื่อถือได้

وقال النسائي ثقة

อันนะซาอีกล่าวว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน) ษิเกาะฮ์ คือ เชื่อถือได้

وقال حجاج بن محمد عن شعبة لم يسمع من بن مسعود ولا من عثمان ولكن سمع من علي
หัจญ๊าจ บินมุฮัมมัดเล่าจากชุอ์บะฮ์ว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ไม่เคยได้ฟังจากท่านอิบนุมัสอูด และไม่เคยได้ฟังจากท่านอุษมาน แต่เขาได้ฟังจากท่านอาลี

وقال البخاري في تاريخه الكبير سمع عليا وعثمان وابن مسعود

อัลบุคอรีกล่าวในหนังสือตารีคกะบีรของเขาว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน)ได้ฟังจากท่านอาลี , อุษมานและอิบนุมัสอูด

وقال بن سعد قال محمد بن عمر كان ثقة كثير الحديث

อิบนุสะอัดรายงานว่า มุฮัมมัด บินอุมัรเล่าว่า เขา (อะบูอับดุลเราะห์มาน) เชื่อถือได้ มีหะดีษรายงานมากมาย

عن الواقدي شهد مع علي صفين ثم صار عثمانيا ومات في سلطان الوليد بن عبد الملك

อัลวากิดีเล่าว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี)ได้เคยร่วมรบกับท่านอาลีในสงครามซิฟฟีน ต่อจากนั้นเขาได้ไปอยู่กับฝ่ายท่านอุษมาน เขามรณะในยุคการปกครองของอัลวาลีด บินอับดุลมะลิก
وكان من أصحاب بن مسعود وقال بن عبد البر هو عند جميعهم ثقة

และเขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี)คืออัศฮาบคนหนึ่งของท่านอิบนุมัสอูด อิบนุอับดุลบัรริกล่าวว่า เขา(อะบูอับดุลเราะห์มาน ) ในทัศนะของพวกเขาทั้งหมด ถือว่า เชื่อถือได้ในการรายงาน

ดูตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ อันดับที่ 317





۩ วิจารณ์

อาจมีคนสงสัยว่า อะบูอับดุลเราะห์มานเรียนอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากใครกันแน่

ระหว่างท่านอุษมาน กับท่านอาลี หรือซอฮาบะฮ์ทั้งสองได้สอนการอ่านกุรอ่านให้เขา


จากสิ่งที่ท่านซะฮะบีและท่านอิบนุหะญัรบันทึกไว้ในตำราริญาลทำให้เราเข้าใจได้ว่า
อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมีได้เรียนการอ่านอัลกุรอ่านกับท่านอาลี

ส่วนหะดีษนั้นอะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมีได้รับฟังจากท่านอุษมานและท่านอาลีรวมทั้งซอฮาบะฮ์ท่านอื่นๆตามที่เรากล่าวไปแล้วด้วย
เมื่อใดที่ท่านเปิดคัมภีร์อัลกุรอ่าน ฉบับพิมพ์จากประเทศซาอุดิอารเบีย
คลิกดูภาพ
www.rnatsheh.com/Site2008/goodnews/images/quran.jpg


ขอให้ท่านเปิดที่หน้าหลังสุดของมุศฮัฟฉบับนี้ท่านจะพบว่า มัจญ์มะอ์มาลิกฟาฮัดได้ชี้แจงถึงสายรายงาน(สะนัด)ของอัลกุรอ่านฉบับนี้ว่า

طُبِعَ الْمُصْحَفُ الشَّرِيْفُ فِي الْمَجْمَعِ بِرِوَايَةِ حَفْصٍ عَنْ عاَصِمٍ، وَهِيَ الرِّوَايَةُ الَّتِيْ يُقْرَأُ بِهاَ فِي مَعْظَمِ بِلاَدِ الْعاَلَمِ الْإِسْلاَمِيِّ

มุศฮัฟฉบับนี้ถูกพิมพ์ขึ้นในนามของมัจญ์มะอ์(มาลิกฟาฮัด) ด้วยสายรายงานของท่านฮัฟศ์ รายงานมาจากท่านอาศิม และมันคือริวายะฮ์ที่ถูกอ่านกันในเมืองใหญ่ๆของโลกอิสลาม
www.qurancomplex.org/Display.asp?section...arb&f=write00013

เพราะฉะนั้นการอ่านคัมภีร์กุรอ่านในปัจจุบันคือ กิรออะฮ์ของ ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน

۞ ฮัฟศ์ บินสุลัยมาน
เป็นชาวกูฟะฮ์ ( เกิด 90 มรณะ 180 ฮ.ศ.) เขาเป็นชีอะฮ์และเป็นสาวกของอิม่ามญะอ์ฟัรซอดิก ดูริญาลเชคตูซี่ อันดับที่ 181
ครูผู้ถ่ายทอดการอ่านอัลกุรอ่านให้กับฮัฟศ์คือ อาศิม บินอะบินนุญูด

۞อาศิม บินอะบินนุญูด (หรือบินบะฮ์ดะละฮ์)
เป็นชาวกูฟะฮ์ ( มรณะ 128 ฮ.ศ.) เขาคือผู้ทรงคุณวุฒิของชีอะฮ์คนหนึ่ง เขาสอนอัลกุรอ่านอยู่ในเมืองกูฟะฮ์เป็นเวลาถึงสี่สิบปี
ตัวอย่างรายงานหะดีษของอาศิมเช่น

عن عاصم بن أبي النجود عن ابن عمر عن الحسن بن علي (ع) قال : سمعتُ أبي علي بن أبي طالب عليه السلام يقول قال رسول الله صلى الله عليه وآله: ...كتاب الاستبصار ح 1321
จากอาศิม บินอะบินนุญูด จากอิบนิอุมัร จากอิม่ามฮาซัน บินอาลีเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอิม่ามอาลีเล่าว่า ท่านรอซูลุลอฮ์(ศ)กล่าวว่า ...
ดูกิตาบอัลอิศติบศ็อร โดยเชคตูซี่ หะดีษที่ 1321
ครูผู้ถ่ายทอดการอ่านอัลกุรอ่านให้กับอาศิมคือ อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี

۞อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมี ชื่อจริงอับดุลลอฮ์ บินหะบีบ ( มรณะ 73-74 ฮ.ศ.)
เขาเป็นสาวกพิเศษของท่านอาลี บินอะลีตอลิบ ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดการอ่านอัลกุรอ่านให้กับเขา
ตัวอย่างรายงานหะดีษของอัสสุละมีเช่น

عَنْ أَبِي عَبْدِ الرَّحْمَنِ السُّلَمِيِّ قَالَ قَالَ أَمِيرُ الْمُؤْمِنِينَ (ع) أَمَّا بَعْدُ فَإِنَّ الْجِهَادَ بَابٌ مِنْ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ فَتَحَهُ اللَّهُ لِخَاصَّةِ أَوْلِيَائِهِ
อะบูอับดุลเราะห์มาน อัสสุละมีเล่าว่า ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน(อาลี) อะลัยฮิสสลามกล่าวว่า
แท้จริงการญิฮ๊าด(เสียสละต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์)คือประตูหนึ่งจากประตูสวรรค์ ที่อัลลอฮ์ทรงเปิดมันไว้โดยเฉพาะสำหรับบรรดาคนที่พระองค์รัก
ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์ หะดีษที่ 19,913

۩ หลักฐานระบุชัดเจนว่า ชีอะฮ์คือผู้รักษาข้อมูลด้านสะนัดของคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่มุสลิมทั่วโลกใช้อ่านกันอย่างแพร่หลาย

จนแม้แต่ปวงปราชญ์วาฮาบีแห่งซาอุดิอารเบียก็ยังต้องยึดสะนัดกุรอ่านของฮัฟศ์สาวกอิม่ามญะอ์ฟัร มาใช้เป็นต้นแบบในการพิมพ์คัมภีร์อัลกุรอ่าน

และชาววาฮาบีทั้งอาเล่มและเอาวามต่างกล่าวกันว่า สะนัดของกุรอ่านฉบับปัจจุบันนี้เป็น สะนัดมุตะวาติรในทัศนะของเรา


۩ คำถามสำหรับวาฮาบี

หนึ่ง –
แล้วสะนัดอัลกุรอ่านมุตะวาติรที่นี้ เป็นสะนัดที่ชีอะฮ์รายงานไว้ใช่ หรือไม่

สอง - หากไม่ใช่ โปรดแสดงหลักฐานคัดค้าน แต่หากใช่ ขอถามต่ออีกนิดว่า ทำไมท่านจึงยอมรับสายรายงานของชีอะฮ์ในเรื่องนี้

อัลลอฮ์ตะอาลาตรัสว่า

ذَرْهُمْ يَأْكُلُوا وَيَتَمَتَّعُوا وَيُلْهِهِمْ الأَمَلُ فَسَوْفَ يَعْلَمُونَ

เจ้าจงปล่อยพวกเขา(ให้)บริโภคและร่าเริง และความหวัง(อันเพื่อฝัน)จะทำให้พวกเขาลืม(อะซาบ) แล้วในไม่ช้าพวกเขาก็จะรู้เอง ซูเราะฮ์อัลฮิจญ์รุ : 3


เชิญท่านเพ้อฝันต่อไปเถิดว่า ฉันอยู่บนสัจธรรม แม้แต่อัลกุรอ่านยังต้องพึ่งรายงานของชีอะฮ์