วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อะกีดะฮ ชีอะฮ

หลักศรัทธามัซฮับชีอะฮ์



เมื่อเอ่ยถึงเรื่องหลักศรัทธา ซึ่งภาษาอาหรับที่ได้ยิกันคุ้นหูก็คือเรื่องอะกีดะฮ์ / อุซูลุดดีน หรือ อีหม่าน

ประการแรกท่านต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า หลักฐานที่ชีอะฮ์ใช้อ้างอิงในเรื่องอะกีดะฮ์มีดังต่อไปนี้คือ

1. โองการจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน

2. หะดีษที่มีสายรายงานจากท่านนบีมุฮัมมัด และอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน

3. คำฟัตวาจากอุละมาอ์ชีอะฮ์ ระดับมัรญิ๊อ์ ตักลีด

4. มติของอุละมาอ์ชีอะฮ์



ชีอะฮ์ได้ยึดตัวบทหะดีษที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะอาลิฮี)กล่าวว่า :

يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنِّى قَدْ تَرَكْتُ فِيكُمْ مَا إِنْ أَخَذْتُمْ بِهِ لَنْ تَضِلُّوا كِتَابَ اللَّهِ وَعِتْرَتِى أَهْلَ بَيْتِى

โอ้ประชาชนทั้งหลาย ! แท้จริงฉันได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกท่านถึงสิ่งซึ่งหากพวกท่านยึดมั่นต่อสิ่งนั้นแล้ว พวกท่านจะไม่หลงทางโดยเด็ดขาด สิ่งนั้นคือ

( 1 ) คัมภีร์ของอัลลอฮฺและ

( 2 ) อิตเราะตี(คือ)อะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน

อ้างอิงจากหนังสือ
อัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 2 : 415 หะดีษที่ 1
เศาะฮีฮุต - ติรมิซี หะดีษที่ 2978 ตรวจทานโดยเชคอัลบานี
ซิลซิละตุซ ซอฮีฮะฮ์ โดยเชคอัลบานี หะดีษที่ 1761


ส่วนหลักฐานที่ชีอะฮ์ยึดคำฟัตวาของมัรญิ๊อ์ตักลีดและมติของอุละมาอ์ชีอะฮ์
ก็เพราะว่า บรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้กล่าวไว้ดังนี้


هِشَامِ بْنِ سَالِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ إِنَّمَا عَلَيْنَا أَنْ نُلْقِيَ إِلَيْكُمُ الْأُصُولَ وَ عَلَيْكُمْ أَنْ تُفَرِّعُوا
أَحْمَدَ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ أَبِي نَصْرٍ عَنِ الرِّضَا ع قَالَ عَلَيْنَا إِلْقَاءُ الْأُصُولِ وَ عَلَيْكُمُ التَّفْرِيعُ

ท่านอิม่ามศอดิกและอิม่ามริฎอ(อ)กล่าวว่า : หน้าที่ของพวกเราคือถ่ายทอดเรื่องหลักๆ(ของศาสนา)แก่พวกท่าน ส่วนพวกท่านก็มีหน้าที่ไปจำแนกเป็นหัวย่อยๆเอาเอง

สถานะฮะดีษ : เศาะหิ๊หฺ

ดูวะซาอิลุชชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 62 ฮะดีษที่ 33201,33202

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ يَعْقُوبَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ يَعْقُوبَ قَالَ سَأَلْتُ مُحَمَّدَ بْنَ عُثْمَانَ الْعَمْرِيَّ أَنْ يُوصِلَ لِي كِتَاباً قَدْ سَأَلْتُ فِيهِ عَنْ مَسَائِلَ أَشْكَلَتْ عَلَيَّ فَوَرَدَ التَّوْقِيعُ بِخَطِّ مَوْلَانَا صَاحِبِ الزَّمَانِ ع أَمَّا مَا سَأَلْتَ عَنْهُ أَرْشَدَكَ اللَّهُ وَ ثَبَّتَكَ إِلَى أَنْ قَالَ وَ أَمَّا الْحَوَادِثُ الْوَاقِعَةُ فَارْجِعُوا فِيهَا إِلَى رُوَاةِ حَدِيثِنَا فَإِنَّهُمْ حُجَّتِي عَلَيْكُمْ وَ أَنَا حُجَّةُ اللَّهِ

จากมุฮัมมัด บินยะอ์กูบ จากอิสฮ๊าก บินยะอ์กูบเล่าว่า : ฉันได้ขอร้องท่านมุฮัมมัด บินอุษมาน อัลอัมรีให้นำจดหมายส่ง(ให้อิม่าม)แทนฉัน ในจดหมายฉันได้ถามถึงปัญหาต่างๆที่คลุมเครือแก่ฉัน แล้วได้มีจดหมายเป็นลายเซ็นด้วยลายมือของผู้ปกครองของพวกเรา คือท่านอิม่ามศอฮิบุซซะมาน(อ)ตอบว่า : ส่วนสิ่งที่เจ้าได้ถามถึงนั้น ขออัลลอฮ์ชี้นำเจ้าและทำให้เจ้ามั่นคง จนท่านกล่าวว่า :

ส่วนกรณีเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น(ในยุคที่ฉันยังไม่ปรากฏตัว) พวกเจ้าจงย้อนกลับไปยังบรรดานักรายงานฮะดีษของเรา เกี่ยวปัญหาเหล่านั้น เพราะพวกเขาคือหลักฐานของฉันที่มีต่อพวกเจ้า และฉันคือหลักฐานของอัลลอฮ์

วะซาอิลุชชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุลอามีลี เล่ม 27 : 140 ฮะดีษที่ 33424

أَحْمَدُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ الطَّبْرِسِيُّ فِي الْإِحْتِجَاجِ عَنْ أَبِي مُحَمَّدٍ الْعَسْكَرِيِّ ع قال :
فَأَمَّا مَنْ كَانَ مِنَ الْفُقَهَاءِ صَائِناً لِنَفْسِهِ حَافِظاً لِدِينِهِ مُخَالِفاً عَلَى هَوَاهُ مُطِيعاً لِأَمْرِ مَوْلَاهُ فَلِلْعَوَامِّ أَنْ يُقَلِّدُوهُ

ท่านอิม่ามฮาซันอัสการี(อ)กล่าวว่า : ส่วนหนึ่งจากบรรดาฟะกีฮ์ ( ที่มีคุณสมบัติดังนี้ )

1,เป็นผู้รักษาตัวเอง(มิให้มีมลทิน)

2,ปกป้องรักษาศาสนาของเขา

3,ไม่คล้อยตามอารมณ์ต่ำของตัวเอง

4,ปฏิบัติตามคำสั่งอิม่ามผู้นำของเขา(อย่างเคร่งครัด)

ดังนั้นจำเป็นสำหรับประชาชนจะต้องปฏิบัติตามเขา (เรียกว่า การตักลีด)

สถานหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูวะซาอิลุช-ชีอะฮ์ โดยอัลฮุรรุล อามิลี เล่ม 27 : 131 ฮะดีษที่ 33401
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


เพราะฉะนั้นเราสามารถกล่าวเรื่องอะกีดะฮ์ชีอะฮ์เรียงตามลำดับดังนี้

1. อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอัลกุรอ่าน

2. อะกีดะฮ์ชีอะฮืจากหะดีษของบรรดาอิม่าม

3. อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์




หนึ่ง - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอัลกุรอ่าน


آَمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُونَ كُلٌّ آَمَنَ بِاللَّهِ وَمَلَائِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لَا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ

รอซูล(นบีมุฮัมมัด)นั้นได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระเจ้าของเขา และผู้มีอีหม่านทั้งหลายก็ศรัทธาด้วย ทุกคนศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดารอซูลของพระองค์ (พวกเขากล่าวว่า) เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดารอซูลของพระองค์ และพวกเขาได้กล่าวว่า เราได้ยินแล้วและได้ปฏิบัติตามแล้ว การอภัยโทษจากพระองค์เท่านั้นที่พวกเราปรารถนา โอ้พระเจ้าของพวกเรา และยังพระองค์นั้นคือการกลับไป

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายัตที่ 285

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 4 ประการคือ
1. ทุกคนศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
2. มลาอิกะฮ์ของพระองค์
3. บรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4. บรรดารอซูลของพระองค์


لَيْسَ الْبِرَّ أَنْ تُوَلُّوا وُجُوهَكُمْ قِبَلَ الْمَشْرِقِ وَالْمَغْرِبِ وَلَكِنَّ الْبِرَّ مَنْ آَمَنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآَخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ

มิใช่ความดีแต่อย่างใดที่สูเจ้าทั้งหลาย จะผินหน้าของพวกสูเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แต่ทว่าความดีคือ ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์ ต่อวันสุดท้ายต่อบรรดามลาอิกะฮ์ต่อคัมภีร์และต่อบรรดานบี...

ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายัตที่ 177

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 5 ประการคือ
1. ศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
2. วันสุดท้าย
3. บรรดามลาอิกะฮ์
4. คัมภีร์
5. บรรดานบี


يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ آمِنُواْ بِاللّهِ وَرَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِي نَزَّلَ عَلَى رَسُولِهِ وَالْكِتَابِ الَّذِيَ أَنزَلَ مِن قَبْلُ وَمَن يَكْفُرْ بِاللّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيدًا

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงศรัทธาต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์เถิด และคัมภีร์(อัลกุรอาน)ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่รอซูลของพระองค์ และคัมภีร์ที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาก่อนหน้านั้น และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และมลาอิกะฮ์ของพระองค์และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์และบรรดารอซูลของพระองค์ และวันสิ้นโลกแล้วไซร้ แน่นอนเขาได้หลงทางอย่างห่างไกล

ซูเราะฮ์อัน-นิซาอ์ : 136

จะเห็นได้ว่าโองการนี้ระบุว่าอีหม่านมี 5 ประการคือ
1. การศรัทธาต่ออัลลอฮ์
2. มลาอิกะฮ์ของพระองค์
3. บรรดาคัมภีร์ของพระองค์
4. บรรดารอซูลของพระองค์
5. วันสิ้นโลก



สอง - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากบรรดาอิม่าม



ถาม - บรรดาอิม่ามกำหนดอะกีดะฮ์ไว้กี่ข้อ ?
ตอบ

บรรดาอิม่ามได้อธิบายเรื่องหลักศรัทธา ( อะกีดะฮ์หรืออุศูลุดดีน ) ไว้ในหะดีษต่างๆมากมาย แต่ที่สำคัญต้องยึดหะดีษที่มีสายรายงานถูกต้องเป็นเกณฑ์เท่านั้น
และจากหะดีษที่ถูกต้องเหล่านั้น จึงได้สรุปประเด็นหลักๆออกมาไว้ในหนังสืออะกีดะฮ์

ไม่ได้มีเงื่อนใดกำหนดว่า หลักศรัทธา(อะกีดะฮ์)นั้น ต้องถูกรวมไว้ในหะดีษเพียงบทเดียว เหมือนเรื่องหลักศรัทธามากมายที่มีอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งก็ไม่ได้ถูกรวมไว้ในหนึ่งโองการจากคัมภีร์กุรอ่าน .


เมื่อท่านต้องการศึกษาเรื่อง การรู้จักอัลเลาะฮ์ เรื่องเตาฮีด เรื่องซิฟัตของอัลเลาะฮ์ ท่านก็ต้องศึกษาหะดีษที่อิม่ามบอกเล่ารายงานไว้ดังนี้เช่น

عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُسْلِمٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ : إِنَّ الْيَهُودَ سَأَلُوا رَسُولَ اللَّهِ ص فَقَالُوا انْسِبْ لَنَا رَبَّكَ فَلَبِثَ ثَلَاثاً لَا يُجِيبُهُمْ ثُمَّ نَزَلَتْ قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ إِلَى آخِرِهَا
الكافي ج : 1 ص : 91 ح : 1 بَابُ النِّسْبَةِ
درجة الحديث : صحيح تحقيق : مركز البحوث الكومبيوترية للعلوم الإسلامية قم ايران

มุฮัมมัด บินมุสลิมรายงาน

ท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)กล่าวว่า : แท้จริงพวกยะฮูดีได้ถามท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ็อลฯ)ว่า จงบอกเชื้อสายของพระเจ้าของท่านให้เราฟัง ท่านนบีนิ่งเฉย สามครั้งโดยไม่ได้ให้คำตอบแก่พวกเขา ต่อมาอัลกุรอานได้ประทานลงมาว่า จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า อัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงเอกะ จนถึงโองการสุดท้ายของซูเราะฮ์นี้

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 91 หะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน

หมายเหตุ-
ซูเราะฮ์ที่ 112 มีชื่อว่าอัลอิคลาศ หรืออัต-เตาฮีด มีทั้งหมด 4 อายะฮ์
بسم الله الرحمن الرحيم قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ (1) اللَّهُ الصَّمَدُ (2) لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ (3) وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ (4)
ด้วยนามของอัลเลาะฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ
[1] จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ว่า อัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงเอกะ
[2] อัลลอฮ์นั้นทรงเป็นที่พึ่ง(ของสรรพสิ่งทั้งมวล)
[3] พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
[4] และในสากลจักรวาล ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์


เรื่องเตาฮีดและซิฟัตของอัลลอฮ์

عَنْ عَبْدِ الرَّحْمَنِ بْنِ أَبِي نَجْرَانَ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا جَعْفَرٍ (الجواد) عَنِ التَّوْحِيدِ فَقُلْتُ أَتَوَهَّمُ شَيْئاً فَقَالَ نَعَمْ غَيْرَ مَعْقُولٍ وَ لَا مَحْدُودٍ فَمَا وَقَعَ وَهْمُكَ عَلَيْهِ مِنْ شَيْ‏ءٍ فَهُوَ خِلَافُهُ لَا يُشْبِهُهُ شَيْ‏ءٌ وَ لَا تُدْرِكُهُ الْأَوْهَامُ كَيْفَ تُدْرِكُهُ الْأَوْهَامُ وَ هُوَ خِلَافُ مَا يُعْقَلُ وَ خِلَافُ مَا يُتَصَوَّرُ فِي الْأَوْهَامِ إِنَّمَا يُتَوَهَّمُ شَيْ‏ءٌ غَيْرُ مَعْقُولٍ وَ لَا مَحْدُود.

كتاب الكافي بَابُ إِطْلَاقِ الْقَوْلِ بِأَنَّهُ شَيْ‏ءٌ ج 1 : 82 ح 1 صحيح

อับดุลเราะห์มานบินนัจญ์รอนเล่าว่า ผมถามอิม่ามญะวาดถึงเรื่องเตาฮีด(ว่าตอรีกที่จะมะอ์ริฟัตพระองค์นั้นเป็นอย่างไร?) ผมกล่าวว่า ฉันจะ تَـوَهُّـمคาดหมาย,นึกมโนภาพถึงอัลลอฮ์เป็น شَيْ‏ءٌ สิ่งหนึ่งและอธิบายอัลลอฮ์ด้วยสิ่งหนึ่งจะได้ไหม ? ท่านตอบว่า ได้สิ แต่สิ่งนั้นต้องไม่กินกับปัญญาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ถูกจำกัด ดังนั้นเมื่อเจ้านึกคิดถึงอัลลอฮ์เป็นสิ่งหนึ่ง อัลลอฮ์ก็คิล๊าฟ خِلَافُهُกับสิ่งนั้น จะนำสิ่งนั้นมาเปรียบเทียบให้เหมือนอัลลอฮ์ไม่ได้
และจินตนาการ أَوْهَامُ ไม่อาจหยั่ง إدراك ถึงอัลลอฮ์ได้
จินตนาการ أوهام จะ إدراك ถึงอัลลอฮ์ได้อย่างไรเล่า ? ในเมื่ออัลลอฮ์คิล๊าฟกับสิ่งที่กินกับปัญญา และคิล๊าฟกับภาพที่อยู่ในจินตนาการ แท้จริงสิ่งที่จะนำมาเป็น MODEL = แบบจำลองในความคิด ได้ สิ่งนั้นจะต้องไม่กินกับปัญญาและไม่เป็นสิ่งถูกจำกัด.

สถานะหะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 82 หะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน


หากต้องการศึกษาเรื่องผู้อิหม่ามนำที่ชีอะฮ์ยึดถือ ก็ต้องไปดูที่การอธิบายโองการนี้จากบรรดาอิม่าม

อัลลอฮ์ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าเถิด หากพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮ์ และรอซูล (คืออัลกุรอานและซุนนะฮ์) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสิ้นโลก นั่นแหล่ะเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยยิ่ง

ซุเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ : 59

หากอยากรู้ว่า “ อูลุลอัมริ “ ในอายะฮ์นี้เป็นใคร ก็ต้องย้อนกลับไปดูคำอธิบายความหมายของบรรดาอิม่ามดังนี้

عَنْ أَبِي بَصِيرٍ قَالَ سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّه‏ (ع) عَنْ قَوْلِ اللَّهِ عَزَّ وَ جَلَّ {أَطِيعُوا اللَّهَ وَ أَطِيعُوا الرَّسُولَ وَ أُولِي الْأَمْرِ مِنْكُمْ } (النساء -: 59 -) فَقَالَ نَزَلَتْ فِي عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ الْحَسَنِ وَ الْحُسَيْنِ ع

อบูบะศีรเล่าว่า : ฉันได้ถามท่านอิม่ามอบูอับดุลลอฮ์ ญะอ์ฟัรอัศศอดิก(อ)ถึงดำรัสของอัลลอฮ์ อัซซะวะญัลที่ตรัสว่า (สูเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและสูเจ้าจงเชื่อฟังรอซูลและผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า) บทที่ 4 : 59 ท่านอิม่ามกล่าวว่า : โองการนี้ได้ประทานลงมาแก่ท่านอะลี,ฮาซันและฮูเซน

สถานะฮะดีษ : เศาะหิ๊หฺ
ดูอัลกาฟี โดยเชคกุลัยนี เล่ม 1 : 287 ฮะดีษที่ 1
ตรวจทานโดยมัรกะซุล บุฮูซ คอมพิวเตอร์ ลิลอุลูมิลอิสลามียะฮ์ เมืองกุม อิหร่าน



สาม - อะกีดะฮ์ชีอะฮ์จากอุละมาอ์ชีอะฮ์


ปัจจุบันหนังสืออะกีดะฮ์ชีอะฮ์มักแบ่งหัวข้อการศึกษาหลักศรัทธาออกเป็น 5 ข้อใหญ่ๆคือ
1. เตาฮีด
2. อะดิล
3. นุบูวะฮ์
4. อิมามะฮ์
5. มะอ๊าดหรือกิยามะฮ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น